การศึกษาสมบัติและเปรียบเทียบมาตรฐานของเส้นไหมดิบพันธุ์นางน้อยศรีษะเกษ 1 ในอำเภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กับมาตรฐานเส้นไหมไทย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พัชรี บุญเลี้ยง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชลารินทร์ อินสอน

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

สาขาวิชาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติและเปรียบเทียบมาตรฐานของเส้นไหมดิบพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 ในอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กับมาตรฐานเส้นไหมไทย สุ่มเก็บกลุ่มตัวอย่างเส้นไหมแล้ว นำมาหาค่าขนาดเส้นไหมโดยวิธีการวัดความยาวในแนวตรง หาความเหนียวและร้อยละการยืดตัวโดยเครื่องทดสอบการดึงและการอัด Testometric M350 5kN CX หาค่าชั้นคุณภาพของเส้นไหมดิบโดยการนับคะแนนคุณลักษณะ และหาร้อยละปริมาณกาวเซริซินโดยใช้อ่างควบคุมอุณหภูมิ เปรียบเทียบค่าขนาดเส้นไหม คะแนนคุณลักษณะและปริมาณกาวเซริซินกับมาตรฐานคุณภาพเส้นไหมไทย ผลการศึกษา พบว่า เส้นไหมตัวอย่างมีขนาด 229.06 ดีเนียร์ มีคะแนนคุณลักษณะ 92.32 คะแนน มีค่าความเหนียว 3.13 กรัมต่อ ดีเนียร์ ร้อยละการยืดตัว เท่ากับ ร้อยละ 15.77 และปริมาณกาวเซริซิน เท่ากับ ร้อยละ 0.42 เมื่อเปรียบเทียบขนาดเส้นไหม คะแนนคุณลักษณะและปริมาณกาวเซริซินกับมาตรฐานเส้นไหมไทย สามารถจัดเส้นไหมตัวอย่างเป็นไหม 1 ชั้นพิเศษ กลุ่มที่ 4