การศึกษาและออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตามแสง
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิรุฬห์ พรมมากุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรเทพ ตรีวิริยานุภาพ
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้ศึกษาและออกแบบเครื่องอบแห้งที่มี 2 ส่วน ส่วนบนกว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร ด้านหน้าสูง 50 เซนติเมตร ด้านหลังสูง 76 เซนติเมตร โครงสร้างเป็นเหล็ก ผนังด้านนอกปิดด้วยไม้อัด ผนังด้านในปรุด้วยใยแก้วแล้วปิดด้วยสังกะสีแผ่นเรียบทาสีดำ ด้านบนมีฝาเปิดปิดตู้ทำด้วยกระจก ส่วนล่างมีความกว้าง ยาว และสูง 100x100x 23 เซนติเมตร ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยภายในเครื่อง แตกต่างกัน 65.33 เปอร์เซ็นต์ (64.64 และ 32.81องศาเซลเซียส) อุณหภูมิภายในเครื่องสูงสุด 79 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเครื่องต่ำสุด 27 องศาเซลเซียส ผลการทดลองอบแห้งเนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อปลา พบว่า เนื้อวัวลดความชื้นได้ 66.89 เปอร์เซ็นมาตรฐานเปียก และ 203.04 เปอร์เซ็นมาตรฐานแห้ง มีอัตราการระเหยของน้ำ 110.36 กรัมต่อชั่วโมง เนื้อหมูลดความชื้นได้ 69.60 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก และ 228.58 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานแห้ง อัตราการระเหยของน้ำ 114.42 กรัมต่อชั่วโมง เนื้อปลาลดความชื้นได้ 67.20 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก และ 205.31 เปอร์เซ็นมาตรฐานแห้ง อัตราการระเหยของน้ำ 112.08 กรัมต่อชั่วโมง