การศึกษาการดูดซับตะกั่วและแคดเมียมในสารละลาย บน Sodalite
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญจมาศ ก่ำคำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกตุ กรุดพันธ์
จรูญ จักรมุณี สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ
ยุทธพงษ์ อุดแน่น ภาควิชาเคมี
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Sodalite เป็น zeolite ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ประเภทหนึ่งซึ่งตามลักษณะโครงสร้างที่เป็นรูพรุนและคุณสมบัติของอะตอมที่อยู่รอบๆโครงสร้างผลึกยังสามารถใช้เป็นตัวดูดซับได้น่าสนใจที่จะประยุกต์ใช้ในการกำจัดโลหะ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาถึงความสามารถในการดูดซับตะกั่วและแคดเมียมในสารละลาย โดยใช้ sodalite เป็นตัวดูดซับทำการศึกษาเป็น 2 ส่วนคือ การศึกษาการดูดซับตะกั่ว![ (Pb^{2+} )](/latexrender/pictures/9f4/9f4c86291e8c9223a02874eca562aae9.gif) กับการศึกษาการดูดซับแคดเมียม![(Cd^{2+})](/latexrender/pictures/9f4/12f/12f7d746a447d789a85c3fa291f26840.gif) ใช้ sodalite น้ำหนัก 0.1 กรัมแช่ในสารละลายตัวอย่างที่มีโลหะไอออน 2 ชนิดคือ แคดเมียมและตะกั่วในความเข้มข้นต่างๆกัน เป็นเวลา 3 ชั่วโมงและเปรียบเทียบปริมาณของโลหะไอออนทั้ง 2 ชนิด ก่อนแช่และหลังแช่ sodalite โดยเทคนิคอะตอมมิคแอบซอร์ฟชันสเปกโทรโฟโตเมตรี (AAS) พบว่าเมื่อใช้ sodalite 0.1 กรัม โดยเฉลี่ยแล้วสามารถดูดซับตะกั่วเป็น 2.80 ppm ต่อ 0.1 กรัม ดูดซับไปร้อยละ 99 แคดเมียม 2.36 ppm ต่อ 0.1 กรัม ดูดซับไปร้อยละ 85 ตามลำดับ พบว่าการดูดซับตะกั่วเป็นไปตามรูปแบบของฟรอยด์ลิคไอโซเทอม แต่แคดเมียมไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นไปตามรูปแบบใด นอกจากนี้ยังได้พยายามนำเอาระบบโฟล์อินเจคชั่นสเปกโทรสโกปี (FIA) มาใช้ในการศึกษาการดูดซับสารละลายบน Sodalite แต่ระยะเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอจึงทำให้การศึกษาในระบบได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น