เส้น null และ timelike geodesic ในหลุมดำ BTZ ที่มีประจุและการหมุนของหลุมดำมาเกี่ยวข้อง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วุฒิชัย ปานแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เทพอักษร เพ็งพันธ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในงานนี้ได้ทำการศึกษาเส้น null และ timelike geodesic ของอนุภาคทดสอบภายใต้สนามโน้มถ่วงของหลุมดำ BTZ หรือหลุมดำ 2+1 มิติ โดยที่พิจารณาให้มีประจุและการหมุนของหลุมดำมาเกี่ยวข้องด้วย ในการศึกษานั้นได้พิจารณาออกเป็นสองส่วนคือ กรณีที่เป็น หลุมดำ usual BTZ และ extreme BTZ สำหรับการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของอนุภาคทดสอบสามารถพิจารณาได้จาก effective potential และจากกราฟของวิถีโคจร ที่ได้จากการแก้สมาการการเคลื่อนที่ของอนุภาคดังกล่าว สำหรับในบางกรณีของสมาการการเคลื่อนที่ ที่มีความซับซ้อนสามารถวิเคราะห์ได้จากการใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข