การพัฒนากระบวนการเจาะเก็บเลือดจระเข้โดยไม่ทำลายชีวิตเพื่อนวัตกรรมของการผลิตเลือดจระเข้

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐนรี ปิติมล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จินดาวรรณ สิรินทวิเนติ

  • วิน เชยชมศรี

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันมีการเพิ่มมูลค่าเลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงร่างกาย ซึ่งแต่เดิมเป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการชำแหละของอุตสาหกรรมจระเข้ และเป็นที่นิยมรับประทานในขณะนี้ คาดว่าในอนาคตเมื่อมีความต้องการวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น เลือดจระเข้อาจไม่เพียงพอจึงได้มีการพัฒนากระบวนการเจาะเก็บเลือดจระเข้พันธุ์ไทย(Crocodylussiamensis)โดยไมทำลายชีวิต โดยเจาะเก็บเลือดจระเข้จากแอ่งเลือดดำหลังกระโหลกปริมาณ 100 มิลลิลิตรจำนวน 9 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามช่วงของระยะเวลาในการเจาะแต่ละครั้ง คือ เจาะเก็บเลือดทุก 4 สัปดาห์ เจาะเก็บทุก 8 สัปดาห์ และเจาะเก็บทุก 12 สัปดาห์ และจระเข้กลุ่มควบคุม 3 ตัว เจาะ 10 มิลลิลิตร ทุก 4 สัปดาห์ ประเมินผลโดยพิจารณาจากพฤติกรรม (การกินอาหารพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน) ผลการตรวจทางโลหิตวิทยา การตรวจทางชีวเคมี และปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลพบว่าการเจาะเลือดควรมีช่วงห่างของระยะเวลาในการเจาะมากกว่า 8 สัปดาห์ ทั้งนี้การหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในกระบวนการเจาะเก็บเลือดจระเข้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป