การพัฒนาวิธีการดองใสลูกปลานิล (Oreochromis niloticus) เพื่อการค้า
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐวัชร โตสัจจะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อุทัยวรรณ โกวิทวที
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การดองใสสัตว์เป็นวิธีการที่แพร่หลายในการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธาน คัพภะวิทยา และกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ขนาดเล็ก ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดองใสสัตว์อยู่หลายวิธี แต่ไม่มีผู้ใดศึกษาการดองใสสัตว์ในเชิงพาณิชย์ การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาวิธีการดองใสลูกปลานิลขนาด 3.5 5 เซนติเมตร เพื่อลดต้นทุนและระยะเวลา รวมทั้งทำให้สะดวกต่อการทำการดองใสด้วยตนเอง การศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบน้ำยาคงสภาพและรักษาสภาพ 2 ชนิด คือ ฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์ และแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งระยะเวลาในการเก็บรักษาตัวอย่างที่แตกต่างกัน (2 4 และ 8 สัปดาห์) และหาปริมาตรของน้ำยาที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (การฟอกสีกล้ามเนื้อ การย้อมสีกระดูกอ่อน การทำกล้ามเนื้อใส และการย้อมสีกระดูก) ผลจากการศึกษาพบว่าลูกปลานิลที่ใช้ฟอร์มาลิน 10 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำยาคงสภาพและเก็บรักษาสภาพ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ให้ผลดีที่สุดและใช้เวลาเพียง 2.65±0.39 วัน โดยแต่ละขั้นตอนใช้น้ำยา 30 มิลลิลิตร ต้นทุนการผลิตประมาณ 2 บาท ต่อตัว ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในการศึกษาโครงร่างสัตว์ โดยผู้ซื้อผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนและ นักศึกษา ทุกระดับ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโครงร่างมากขึ้น