ผลของสารสกัดจากพืชที่มีแทนนินสูง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสีย

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วรพจน์จันทร์แสนตอ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทิพาพร ขวัญแก้ว

  • ขจรศักดิ์ ตระกูลพัว

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

สารแทนนินเป็นสารพบมากในพืชที่มีรสฝาด มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการท้องเสีย และป้องกันการทำลายของเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ทางผู้จัดทำจึงได้นำสารสกัดหยาบจากพืชที่มีแทนนินสูง มาใช้ในการยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสีย การทดลองตอนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ปริมาณ สารแทนนินโดยวิธีการตกตะกอนโปรตีน ซึ่งมีการวิเคราะห์ในใบฝรั่ง เปลือกมังคุด ชาเขียว ใบพลู กระถิน เปลือกกล้วยน้ำว้า และเนื้อกล้วยน้ำว้า ผลที่ได้ปรากฏว่าใบฝรั่งและเปลือกมังคุดมีปริมาณสารแทนนินอยู่มากกว่าในพืชสมุนไพรชนิดอื่น ทางผู้จัดทำจึงเลือกเอาใบฝรั่งและเปลือกมังคุดมาศึกษาในการทดลองตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ต่อไป การทดลองตอนที่ 2 เป็นการสกัดสารจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุดมายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus , Pseudomonas aeruginosa และEscherichi coli ผลปรากฏว่าทั้งสารสกัดจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุดสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ได้ การทดลองตอนที่ 3 เป็นการประยุกต์เอาเนื้อหมูมาแช่ในสารสกัดจากใบฝรั่งและเปลือกมังคุด เป็นเวลา 20 นาที ปรากฏว่าหลังแช่ สีของเนื้อหมูที่แช่ในสารสกัดจากเปลือกมังคุดจะดูคล้ายเนื้อหมูตามท้องตลาดมากที่สุด และเมื่อนำเนื้อหมู ที่แช่สารสกัดมาตั้งทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าเชื้อในเนื้อหมูที่แช่ด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุด มีปริมาณน้อยกว่าเชื้อในเนื้อหมูที่แช่ด้วยสารสกัดจากใบฝรั่ง ทางผู้จัดทำจึงได้คัดเลือกสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาต่อในการทดลองตอนที่ 4 ซึ่งเป็นการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาทดสอบหาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดที่มีความเข้มข้น 1 : 2 และ 1:4 ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ จากผลการทดลองข้างต้น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าสารสกัดจาก เปลือกมังคุดสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารยืดอายุอาหารในเนื้อหมูได้อีกในอนาคต