ผลของอะซีแนพทีนต่อแอคติวิตีของเอนไซม์กลูตาไทโอนเอสทรานเฟอเรสในตับปลาสวาย Pangasius sutchi Fewler
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลวรรณ สุนทรเกตุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บุญเกื้อ วัชรเสถียร
กันทิมาณี พันธุ์วิเชียร
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำ เป็นปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาถึงผลของอะซีแนพทีน ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มพีเอเอช (Polynuclear หรือ Polycyclic Aromatic Hydrocarbon หรือ PAHs) ที่พบสูงในแม่น้ำสายสำคัญหลายแห่ง ต่อแอคติวิตีของเอนไซม์ glutathione s tranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์หนึ่งในกระบวนการกำจัดพิษ โดยทำการศึกษาจากปลาสวาย Pangasius sutchi Fewler จำนวนทั้งสิ้น 45 ตัว โดยให้ปลา 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ตัว กินอาหารผสมอะซีแนฟทีนที่ความเข้มข้น 10 และ 150 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และอีก 15 ตัว กินอาหารไม่ผสมอะซีแนพทีน เป็นกลุ่มควบคุม เก็บตัวอย่างตับปลาสวายทั้ง 15 ตัวในแต่ละกลุ่ม ที่ 4 สัปดาห์หลังการทดลอง เพื่อตรวจสอบแอคติวิตีของเอนไซม์ glutathione S tranferase ในตับ ระหว่างการทดลองไม่พบการตายของปลาทุกกลุ่ม และพบว่า ปลาสวายในกลุ่มทดลองมีแอคติวิตีของเอนไซม์ glutathione s tranferase ในตับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ( P 0.05) จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า อะซีแนพทีนทำให้แอคติวิตีของเอนไซม์ glutathione s tranferase ในตับปลาสวาย เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของ acenaphthene