การผลิตแผ่นกรองอากาศสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมพ่นสีรถยนต์

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณิชนันท์ คำนวนสินธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สมชาย มณีวรรณ์

  • อนุสรณ์ วรสิงห์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทความนี้ทำการศึกษาสภาวะและสัดส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน โดยทำการศึกษา อุณหภูมิเผาในเตาเผาอับอากาศที่ 500 ๐C ถึง 900 ๐C ระยะเวลาที่ใช้ในการกระตุ้นที่ระยะเวลา 5 10 15 20 25 และ 30 นาที โดยทำการกระตุ้นด้วยไอน้ำในหม้ออัดความดัน 80 kPa และอัตราส่วนผสมระหว่างตัวประสานต่อถ่านกัมมันต์ที่ 20:80 30:70 และ 40:60 พบว่าที่อุณหภูมิการเผา 700 ๐C ระยะเวลากระตุ้น 15 นาที มีความเหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์ เนื่องจากมีค่าดูดซับซับไอโอดีนสูงถึง 784.33 mg/g ผลผลิตเฉลี่ยร้อยละ 24.79 ความชื้นร้อยละ 0.93 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 0.40 และคาร์บอนคงที่ร้อยละ 91.53 โดยตัวประสานและสัดส่วนที่เหมาะสม คือ ยิปซัม ในอัตราส่วนยิปซัมต่อถ่านกัมมันต์ 30: 70 มีค่าความแข็งต่อแรงอัด 846.67 N/cm2 และค่าความหนาแน่นปรากฏ 0.37 g/cm3