การพัฒนาเชื้อเพลิง RDF-5 จากขยะที่ผ่านการบำบัดแบบเชิงกลชีวภาพ และกากตะกอนน้ำมันดิบ

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิติยาภรณ์ วาฤทธิ์

  • สุทธิ ทองกล่ำ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สมชาย มณีวรรณ์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทความนี้ทำการศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิง RDF – 5 (Refuse Derived Fuel 5) และทดสอบสมบัติทางกายภาพโดยทำการศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างกากตะกอนน้ำมันดิบต่อขยะที่ผ่านกระบวนการบำบัดโดยวิธีเชิงกลชีวภาพ (MBT) ที่ 10:90 20:80 30:70 40:60 50:50 ทำการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ และวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆตามมาตรฐาน ASTM (American Society of Testing and Materials) ดังนี้ การแปรรูป ค่าความร้อน (ASTM D 240) ความชื้น (ASTM D 3173) เถ้า (ASTM D 3174) จากผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพ อัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อเพลิง RDF 5 คือ 10:90 เนื่องจากสามารถแปรรูปได้ดี มีค่าความร้อนเท่ากับ 9,627.46 กิโลแคลอรี/ กิโลกรัม ความชื้นร้อยละ 3.73 คือมีความร้อนไม่เกินร้อยละ 10 ของมาตรฐานในการผลิตเชื้อเพลิง เถ้าร้อยละ 7.95 การประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยการศึกษาต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิง RDF – 5 มีราคา ประมาณ 1.6 บาท/กิโลวัตต์