การแสดงออกของยีนเปรียบเทียบในรากและใบหนอนตายหยาก (Stemona curtisii) โดยวิธี DDRT-PCR

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนกขวัญ ศรีคำ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา อารยา จาติกเสถียร

  • สิริวดี ชมเดช

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หนอนตายหยาก (Stemona curtisii) เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำสารสกัดจากรากมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งสารออกฤทธิ์เป็นสารประเภทอัลคาลอยด์ เช่น stemofoline, stemocurtisine (pyridostemine) และstemocurtisinol เป็นต้น สารเหล่านี้พบในรากมากกว่าใบ ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในรากและใบของหนอนตายหยากโดยวิธี Differential Display ReverseTranscription Polymerase Chain Reaction (DDRT PCR) ด้วยการสกัด mRNA จากส่วนรากและใบ จากนั้นใช้ mRNA เป็นแม่พิมพ์ในการสร้าง cDNA โดยใช้ reverse transcriptase และเพิ่ม cDNA ด้วย PCR โดยใช้ primer 2 ชุดๆแรก คือ anchor primers จำนวน 10 ตัว ประกอบด้วยไพรเมอร์ A1 ถึง A10 จับคู่กับชุดที่สอง คือ arbitrary primers จำนวน 26 ตัว ประกอบด้วยไพรเมอร์ ZP1 ถึง ZP26 แล้วจึงแยกความแตกต่างของ DNA ด้วยวิธี polyacrylamide gel electrophoresis พบว่ามีคู่ไพรเมอร์ 2 คู่ คือ A1, A4, A7 คู่กับ ZP6 และ A1,A4, A7 คู่กับ ZP8 ให้ลายพิมพ์ DNA ที่แตกต่างกันระหว่างส่วนรากและใบ จากนั้นเลือกแถบ DNA ที่แตกต่างมาเพิ่มจำนวนด้วย PCR อีกครั้ง และหาลำดับเบสเพื่อให้ทราบว่าเป็นชิ้นส่วนของยีนใด ซึ่งอาจเป็นยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์สารอัลคาลอยด์ที่พบมากในส่วนราก Abstract: Root extract from Stemona curtisii has been widely used as insecticide. The active compound was alkaloid such as stemofoline, stemocurtisine (pyridostemine) and stemocurtisinol.These compounds were found in the root more than those in the leaf. Differential Display Reverse Transcription Polymerase Chain Reaction (DDRT PCR) was therefore used to compare the gene expression in the root and leaf of S.curtisii. The mRNA was isolated from root and leaf and used as template for cDNA synthesis by reverse transcriptase. The cDNA were amplified by PCR with two sets of primers: 10 anchor primers, A1 A10 and 26 arbitrary primers, ZP1 ZP26. The cDNA product was differentiated by polyacrylamide gel electrophoresis. It was shown that two primer combinations, A1, A4, A7 with ZP6 and A1, A4, A7 with ZP8 demonstrated different DNA fingerprint between root and leaf.The different bands were selected for re amplification by PCR and sequencing. It might be encoded for gene associated with alkaloid synthetic pathway presented in the root.