การเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในรากและใบหนอนตายหยาก (Stemona curtisii) โดย cDNA-Amplified Fragment Length Polymorphism (cDNA-AFLP)
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เอื้อมพร เอี่ยมแพร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หนอนตายหยากเป็นพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) ซึ่งพบมากในรากแต่พบน้อยหรือไม่พบในใบ มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการศึกษานี้จึงเปรียบเทียบการแสดงออกของยีน (gene expression) ในส่วนของรากและใบของต้นหนอนตายหยาก (Stemona curtisii) โดยใช้วิธี cDNA Amplified Fragment Length Polymorphism (cDNA AFLP) การคัดเลือกไพรเมอร์เพื่อหาคู่ไพรเมอร์ที่เหมาะสมต่อการศึกษา จะคัดเลือกจากไพรเมอร์ 4 ตัว จับคู่กัน 4 แบบ พบว่าจำนวนคู่ไพรเมอร์ทั้ง 4 แบบ สามารถทำให้เกิดแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างระหว่างรากและใบ โดยลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้มีความคมชัด