ความเป็นพิษและการสะสมของแคดเมียมในผักกวางตุ้ง (Brassica chinensis L.)

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดาวิการ์ อินชัยวงค์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุทธาธร ไชยเรืองศรี

  • ชิตชล ผลารักษ์

  • วนารักษ์ ไซพันธ์แก้ว

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาความเป็นพิษและการสะสมของแคดเมียมในผักกวางตุ้ง (Brassica chinensis L.) โดยปลูกในระบบไฮโดรโปนิคเพื่อสังเกตอาการและนำไปตรวจสอบหาปริมาณการสะสมของแคดเมียมในเนื้อเยื่อโดยวิธี ICP ผลการทดลองพบว่าชุดการทดลองที่เลี้ยงในสารละลายที่ปนเปื้อนแคดเมียมมีใบเหลืองซีดและหงิกงอม้วน ขนาดใบเล็กลง ลำต้นเจริญช้า รากสั้นเป็นกระจุก และมวลชีวภาพลดลง โดยอาการเริ่มแสดงตั้งแต่ที่ความเข้มข้น 5 μmol/L อาการมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในชุดการทดลองที่มีความเข้มข้นของแคดเมียมเพิ่มขึ้น และในชุดการทดลองที่ความเข้มข้น 20 และ 40 μmol/L พบว่าผักกวางตุ้งมีอาการใบไหม้ จากขอบใบ เมื่อนำไปตรวจสอบหาปริมาณการสะสมของแคดเมียมในเนื้อเยื่อ พบว่ามีการสะสมแคดเมียมที่บริเวณรากและลำต้นมากกว่าบริเวณใบ