ผลของอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดต่อโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกรามในเอ็มบริโอระยะก่อนฟัก
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พนมพร รักษาภักดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นพคุณ ภักดีณรงค์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเปอร์เซ็นต์การตายของเอ็มบริโอของกุ้งก้ามกรามอายุ 20 วันในน้ำทะเลเทียมที่มีความเข้มข้นของสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดในระดับต่างๆ และผลของสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดต่อลักษณะโครงสร้างของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกราม โดยนำเอ็มบริโออายุ 24 ชั่วโมง ไปเลี้ยงในน้ำทะเลเทียมที่มีความเข้มข้นของสารสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดที่ระดับต่างๆ คือ 10, 50, 100 และ 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ระดับความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตายต่ำที่สุด คือ 30.83 เปอร์เซ็นต์ และที่ระดับความเข้มข้น 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตายสูงที่สุด คือ 89.66 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และผลการศึกษาโครงสร้างของเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบว่า เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ในชุดควบคุม มีลักษณะเป็นเซลล์ทรงกลมขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ เห็นนิวคลีโอลัสชัดเจน ในกลุ่มทดลองที่เลี้ยงด้วยสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดที่ระดับความเข้มข้น 10, 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม และพบว่าในชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยสารอัลทรานซ์เรติโนอิกแอซิดเข้มข้น 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ได้พัฒนาไปเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายโอโอไซต์ เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่า ภายในเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์สืบพันธุ์ในชุดควบคุมและชุดที่เลี้ยงด้วยสารเข้มข้น 10 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีออแกแนลน้อย ในชุดที่เลี้ยงด้วยสารเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบออแกแนลจำนวนมากประกอบด้วย ไรโบโซม, ไมโตคอนเดรีย, เอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัม และแวคิลโอล ในชุดที่ได้รับสารเข้มข้น 150ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีการเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่มีที่มีลักษณะคล้ายโอโอไซต์ คือ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ ภายในนิวเคลียสมีโครมาตินเกาะกันอยู่อย่างหลวมๆ ตามบริเวณขอบนิวเคลียส ลักษณะไซโตพลาสซึมทึบ จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ต่อไป The objectives of this study were to investigate the effect of all trans retinoic acid on motality rate and structure of primordial germ cells (PGCs) in 20 day old giant freshwater prawn embryos. The embryos at 24 hours after spawning were treat with 15% artificial seawater (ASW) and 10, 50, 100 or 150 µg/ml for 2 days. The results of this study show the lower of motality rate was 38.83% in 50 µg/ml AtRA. The highest motality rate was 89.66% in 150 µg/ml AtRA. Under light microscope (LM) observation, the results show that PGCs are large round cell with large nucleus and conspicuous nucleoli. The structure of PGCs in10, 50, 100 µg/ml AtRA treated embryo similar to that of control but PGCs in 150 µg/ml AtRA treated embryo are difference from those in control and others treatments. Surprisingly PGCs in 150 µg/ml treated embryo develop to be oocytes. Under transmission electron microscopic study, The results show that PGCs in control, 10, 50 µg/ml AtRA treated embryos compose of small amount of organelles but those in 100 µg/ml AtRA treated embryos show bilayer of nuclear membrane, nuclear pore complex, ribosome, mitochondria, rough endoplasmic reticulum and large vacuole. In 150 µg/ml AtRA treated embryos, the PGCs develop to be oocytes. They are large round nucleus with heterochromatin. The cytoplasm is dense. This study can use for giant freshwater prawn cuture.