นิเวศน์วิทยาปะการัง The coral in ecology
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุวดี ชื่นกมล
เทวพร รักสุข
รัตนา ภาคศิลป์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภาภรณ์ เกษคำ
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
อยู่ใน กระด้ง เขาจะพบว่าไม่มีที่แห่งใดในทะเล หรือในโลก ที่มีจำนวนชนิดของสัตว์มากเท่ากับที่เขาจะพบในแนวปะการัง... อาณาจักรแห่งความหลากหลายใต้ทะเล ปะการังมิใช่เป็นทั้งหมดของระบบนิเวศแห่งนี้ จริงอยู่ที่พืช และสัตว์ในแนวปะการังไทยอาจมีหลายหมื่นชนิด ขณะที่ปะการังมีเพียง 270 ชนิด คิดแล้วไม่ถึงร้อยละหนึ่ง แต่ปะการังคือจุดกำเนิด ...หากไม่มีปะการัง ย่อมไม่มีชีวิตจำนวนมหาศาลมารวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งในโลกสีคราม ปัจจุบันแนวปะการังในประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต กล่าวได้ว่ามากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ โดนรบกวนจากมนุษย์ จำนวนมากเสื่อมโทรมลงจนถึงขั้นใกล้สูญสลาย อีกหลายแห่งอยู่ในภาวะอันตราย เสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพยากรของคนไทยไปตลอดกาล ที่น่าเป็นห่วงคือแนวปะการังเหล่านั้น ล้วนเป็นจุด สวยและสมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทยเราไม่มีทางพบแนวปะการังแห่งใหม่สวยสมบูรณ์เหมือนที่เรามีอยู่ใน ปัจจุบันอีกแล้ว เมื่อพูดถึงการอนุรักษ์หลายคนคิดถึง “ปะการังเทียม” และ “ปลูกปะการัง”โดยเข้าใจว่านี่คือ หนทางแก้ไข ที่จะช่วยให้แนวปะการังเมืองไทยอยู่รอด แต่ความเป็นจริงแล้ว "ปะการังเทียม" สร้างขึ้น เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา ถึงแม้จะมีสัตว์น้ำไปอาศัยแต่ความหลากหลายนั้นต่ำกว่าแนวปะการังแท้อย่างสุดขั้ว นอกจากนั้นปะการังเทียมยังไม่สามารถทดแทนในด้านแหล่งท่องเที่ยว แนวทางที่ช่วยปะการังให้คงอยู่คู่เมืองไทยคือ “รักษา” มิใช่ “ฟื้นฟู” หากเราดูแลทรัพยากรใต้น้ำ แห่งนี้ให้ดีแล้วเปิดโอกาสให้ธรรมชาติเข้ามาเยียวยา โอกาสที่ลูกหลานชาวไทยจะได้ใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่งในทะเลยังมีอยู่แต่ในวันนี้เราทุกคนต้องพยายามกันให้มากขึ้นกว่าเดิม