การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อุทุมพร ศรีสาคร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาฟิสิกส์

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้พื้นฐานเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ และผลสัมฤทธิ์ของการสอนในปัจจุบันเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ โดยทำการทดสอบกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาฟิสิกส์ ปีการศึกษา 2550 ซึ่งถูกทดสอบด้วยแบบทดสอบ Force Motion Concept Evaluation (FMCE) ก่อนการเรียนในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ และนักเรียนกลุ่มนี้ต้องทำแบบทดสอบ FMCE อีกครั้งเมื่อได้เรียนในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่แล้ว ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนถูกวิเคราะห์โดยวิธีทางสถิติ และวิธี Model analysis โดยทั้ง Model ส่วนบุคลและ Model ของห้อง จะพบว่านักศึกษามีความรู้พื้นฐานในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่น้อย การศึกษา Model นั้นแสดงให้เห็นว่านักศึกษาส่วนมากใช้ Model ของตนเองหรือสามัญสำนึกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งตัวที่บ่งบอกว่านักศึกษาอยู่ใน Model ใดนั้นคือค่าไอเกน แบบทดสอบหลังเรียนแสดงให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเรื่องกฎข้อที่ 3 ของนิวตันและเรื่องพลังงาน แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเรื่องกฎข้อที่ 1,2 ของนิวตันและเรื่องความเร่ง ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันในเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ