การปรับปรุงการย้อมสีไหมโดยอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุพงษ์ น้อยตำแย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภาภรณ์ นพคุณดิลกรัตน์
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผ้าไหมนับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ คุณภาพจึงเป็นตัวที่กำหนดถึงราคา ปัญหาของผ้าไหมคือ ในการซักผ้าไหมมักประสบปัญหาการตกของสีเนื่องมาจากการย้อม อีกทั้งปัจจุบันได้มีการอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์ใช้ในการย้อมสีไนลอน ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำมาใช้ในการย้อมสีไหม ซึ่งสีที่ใช้เป็นสีกลุ่มเดียวกันคือ สีแอซิด เป็นสีจำพวก Triphenylmethane เฉดสีเขียว คือ สี Acid green 16 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการย้อมและพัฒนาการย้อมให้ดีขึ้นโดยศึกษาถึงความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารละลายที่ใช้ ความคงทนต่อการซัก ความแข็งแรงต่อแรงดึง การละลายใน NaOCI การหดตัวของผ้า พบว่า การย้อมสีไหมโดยอาศัยปฏิกิริยารีดอกซ์โดยสารกลุ่มที่ 1 คือ  ที่ความเข้มข้น 20 mM กลุ่มที่ 2 คือ  ที่ความเข้มข้น 40 mM กลุ่มที่ 3 คือ  ที่ความเข้มข้น 30 mM มีค่าการดูดกลืนแสงเปลี่ยนแปลงและลดลงมากที่สุดในแต่ละกลุ่มและมากกว่าสภาวะย้อมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซี่งเมื่อนำทุกกลุ่มมาเปรียบเทียบกันจะพบว่า กลุ่มที่ 1 คือ  ที่ความเข้มข้น 20 mM ค่าการดูดกลืนแสงเปลี่ยนแปลงและลดลงมากที่สุด ความคงทนของสีต่อการซัก ความแข็งแรงต่อแรงดึง สูงที่สุด การละลายใน NaOCI ต่ำที่สุด เพราะฉะนั้นกลุ่มที่ 1 ที่ความเข้มข้น 20 mM มีสภาวะที่เหมาะสมที่สุด