การสกัด การแยก และการทดสอบสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Herpes simplex จากต้นย่านพังโหม

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เอมอร ทองเป็นใหญ่

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บุญส่ง คงคาทิพย์

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ต้นย่านพังโหม หรือที่เรียกกันในชื่ออื่นๆ เช่น กระพังโหม ตดหมูตดหมา เป็นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paederia Foetida Linn. อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE เป็นวัชพืชที่ขึ้นทั่วไปตามสวนหรือพื้นที่ทั่วไปในประเทศไทย มีสรรพคุณปรากฏในการแพทย์แผนโบราณว่า สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เริม งูสวัด แต่ยังไม่ไดมีการทำวิจัยในเรื่องนี้อย่างจริงจัง โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ คือ สกัด แยก และทดสอบการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากต้นย่านพังโหม โดยได้สกัดสารจากต้นย่านพังโหมที่แตกแห้งและบดละเอียดแล้ว ด้วยการใช้เครื่องสกัด (Soxhlet extraction) และใช้คลอโรฟอร์ม (Chloroform, CHCl3และเอทานอล ( Ethanol !['CH_3CH_2OH](/latexrender/pictures/a79/a790b170c8f83d206e8db2e7371f30b7.gif)) เป็นตัวทำละลาย นำสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยคลอโรฟอร์มมาทำการแยกโดยใช้หลักการโครมาโทกราฟี ( Chromatography)ด้วยเทคนิค Quick Column Chromatography ซึ่งสามารถแบ่งสารสกัดหยาบออกเป็น 21 ส่วน จาการทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยวิธี Brine Shrimp Lethality Test พบว่าสารละลายสารสกัดหยาบของต้นย่านพังโหมที่สกัดด้วยคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้นประมาณ 515 ppm (LC50) จะสามารถทำให้nauplii ตามร้อยละ 50 เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงหลังการใส่สารละลาย ซึ่งบ่งชี้ว่าสารสกัดหยาบของต้นย่านพังโหมที่สกัดด้วยคลอโรฟอร์มมีองค์ประกอบที่เป็นสารออกฤทธิ์ชีวภาพ นอกจากนี้ จากการทดสอบการออกฤทธิ์กับเชื้อ Herpes simplex ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าสารสกัดหยาบจากต้นย่านพังโหมที่ได้จากการใช้คลอโรฟอร์มและเอทานอลเป็นตัวทำละลายไม่มีพิษกับเซลล์ปกติ เพราะมีค่า IC50 มากว่า 50 μ g/ml แต่สารสกัดหยาบจากต้นย่านพังโหมที่ได้จากการใช้คลอโรฟอร์มและเอทานอลเป็นตัวทำละลายนี้ออกฤทธิ์กับเชื้อ Herpes simplex โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.8 และ 1.6 μ g/ml ตามลำดับ สำหรับการศึกษาในขั้นต่อไป มีแผนที่จะทำการแยกและศึกษาองค์ประกอบเบื้องต้นของสารที่สกัดได้จากนั้น จึงแยกสารที่สกัดได้ให้บริสุทธิ์ และทดสอบการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ Herpes simplex ตลอดจนหาโครงสร้างของสารออกฤทธิ์นี้