ผลของความเข้มแสงต่อปริมาณแอนโทไซยานินในใบกระเพราแดง

ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปฐมาภรณ์ ปฐมภาค

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทวีศักดิ์ ศักดิ์นิมิต

สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระดับการศึกษา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป

หมวดวิชา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาชีววิทยา

วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

01 มกราคม 2541

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แอนโทไซยานินที่พบในใบพืชมีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันในพืชแต่ละชนิด หน้าที่อย่างหนึ่งที่ น่าสนใจคือ การป้องกันการถูกทำลายจากแสง ในการทดลองครั้งนี้ต้องการศึกษาว่า พืชที่ได้รับความเข้มแสงต่างกันจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณแอนโทไซยานิน อย่างไร โดยใช้ต้นกระเพราแดงอายุ 40วัน ในการทดลองเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตภายใต้ภาวะความเข้มแสงปกติในธรรมชาติ (100%) กับภายใต้ภาวะความเข้มแสงต่ำ (20%) สกัดหาปริมาณแอนโทไซยานินในใบต้นกระเพราแดงทุกๆ 5 วัน เป็นเวลา 25 วัน ซึ่งผลอยู่ระหว่างการศึกษา