โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาความหลากหลายของไลเคน (Lichen) จากสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความแตกต่างของสภาพแวดล้อมกับความหลากหลายของไลเคน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความชื้นที่มีผลต่อกลุ่มของไลเคนที่พบ จากการศึกษาความหลากหลายของไลเคน โดยแบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 3 โซน ในแต่ละโซนจะมีระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ละความชื้นสัมพัทธ์ใกล้เคียงกัน โซนที่ 1 พบไลเคนในกลุ่มครัสโตส โฟลิโอส และสแควมูโลส โซนที่ 2 พบไลเคนกลุ่มครัสโตสและโฟลิโอส โซนที่ 3 พบไลเคน กลุ่มครัสโตสและโฟลิโอส อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว พบไลเคนที่มีความหลากหลายมากที่สุด 26 สกุล รองลงมาคือ โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร 21 สกุลรองลงมาคือ สวนยางพารา 15 สกุล และถนนเพชรเกษม หน้าโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร พบไลเคนน้อยที่สุดคือ 12 สกุล และไลเคนบนใบไม้เป็นกลุ่มของครัสโตส พบได้ทุกบริเวณ ซึ่งโซนที่ 2 และโซนที่ 3 พบครัสโตสกลุ่มแอโพทิเชียแบบจาน (disc-like apothecia) และ เพอริทิเชีย (perithecia) บนใบไม้ ดังนั้นความแตกต่างของกลุ่มไลเคนบนใบไม้จึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และถึงแม้จะมีการศึกษาโดยแบ่งเป็น 3 โซน แต่ยังคงพบไลเคนในกลุ่มที่เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงสภาพอากาศที่ดี ทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษาในจังหวัดระนองเป็นบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมทางอากาศที่ดี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐกาญจน์ วัฒนาทองกุล
ศลิษา ภู่เพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นภัสกร ฟองฟุ้ง
เดชา ดวงนามล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญเงิน ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
สิ่งแวดล้อม
ไลเคน การศึกษา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์