โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการคัดแยกแบคทีเรียย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องจากดินบริเวณที่มีการปนเปื้อนคราบน้ำมัน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยก และศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียในการย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วจากดินบริเวณที่มีการปนเปื้อนคราบน้ำมัน ทำการทดลองโดยการคัดแยกแบคทีเรียจากดินที่มีการปนเปื้อนของคราบน้ำมันเครื่อง มาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียได้ 6 ไอโซเลท จากนั้นถ่ายเชื้อลงในอาหาร Luria bertani broth ที่มีน้ำมันเครื่องร้อยละ 1 เขย่าเป็นเวลา 7 วัน ทำละลายด้วย dichloromethane เพื่อแยกน้ำมันออกจากน้ำ นำไประเหยแห้งด้วยสุญญากาศ และชั่งน้ำหนักของน้ำมันที่เหลืออยู่ คำนวณหาร้อยละการย่อยสลายน้ำมันโดยแบคทีเรีย จากการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว พบว่าแบคทีเรียไอโซเลท SRP 3 มีประสิทธิภาพในการย่อยดีที่สุด โดยสามารถย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องได้เท่ากับร้อยละ 25.49 จึงนำแบคทีเรียไอโซเลท SRP 3 มาทดสอบซ้ำอีกครั้งโดยใช้ปริมาณน้ำมันที่แตกต่างกัน คือ ร้อยละ 1,0.50 และ 0.25 พบว่าที่ปริมาณน้ำมันเครื่องร้อยละ 0.75 แบคทีเรียไอโซเลท SRP 3 มีประสิทธิภาพในการย่อยน้ำมันสูงสุด คือ มีการย่อยเฉลี่ยร้อยละ 24.55 และจากการจัดจำแนกแบคทีเรียไอโซเลท SRP 3 ด้วยวิธี 16s rRNA gene พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแบคทีเรีย Acinetobactor calcoaceticus ผลการวิจัยจากโครงงานนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ย่อยสลายคราบน้ำมันเครื่องบริเวณที่มีการปนเปือนในสิ่งแวดล้อมได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกกร สาจันทึก
สุปรียา ไชยกันทา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จีรพร เพกเกาะ
วลีรัตน์ ทองรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญเงิน ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
คราบน้ำมัน
ดิน การปนเปื้อน
แบคทีเรีย การคัดแยก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์