โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการผลิตซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาที่เหลือใช้ ทดลองผลิตซุปก้อน นำไปทดสอบการยอมรับ คำนวณหาปริมาณแคลเซียมและการเก็บรักษา จากการศึกษาพบว่า สูตรในการผลิตซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาที่ได้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสเฉลี่ยรวมทุกด้านมากสุดเป็นสูตรที่ 2 โดยใช้ก้างปลาหัวปลาอบแห้งร้อยละ 50 เกลือ ร้อยละ 22 น้ำตาลร้อยละ 16 หอมแดง ร้อยละ 5 กระเทียม ร้อยละ 5 และพริกไทยป่น ร้อยละ 2 ของน้ำหนักรวม ศึกษาการยอมรับของซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลา 3 ชนิด พบว่า ซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาทับทิมได้คะแนนการยอมรับมากที่สุด รองลงมาเป็นซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลานิล และซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาทู ตามลำดับ ประสิทธิภาพการทำละลายและการปรุงแกงจืดของซุปก้อน 3 ชนิด พบว่า เวลาการทำละลายเท่ากับ 3 นาที 20 วินาที,3 นาที 30 วินาที และ3 นาที 40 วินาที ตามลำดับ เวลาในการปรุงอาหารแกงจืดเท่ากันที่ 10 นาที ผลการทดสอบ พบว่า แกงจืดที่ผลิตด้วยซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาทับทิมได้รับคะแนนการยอมรับทุกด้านในระดับชอบมาก รองลงมาเป็นแกงจืดที่ทำจากซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลานิลและแกงจืดที่ทำด้วยซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาทู มีคะแนนการยอมรับอยู่ในระดับชอบปานกลาง ผลการศึกษาปริมาณแคลเซียมพบว่า ซุปก้อนปรุงรสจากก้างปลาหัวปลาทั้ง 3 ชนิด มีปริมาณแคลเซียมเท่ากับ 259.38, 11,908.98 และ 11,997.91 มิลลิกรัม (น้ำหนักแห้งรวม 240 กรัม) ตามลำดับ ปริมาณแคลเซียมต่อ 1 ก้อน (น้ำหนักแห้ง 100 กรัม) เท่ากับ 496.21 499.91และ 10.81 มิลลิกรัม ตามลำดับ ผลการเก็บรักษาพบว่า ที่อุณหภูมิในตู้เย็นเก็บรักษาได้ 30 วัน และอุณหภูมิห้องเก็บรักษาได้ 20 วัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤษณา พูลสุข

  • พัชราภา เซี้ยห้วน

  • พิมพ์ใจ โมเล็ก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์)

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญทอง ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ก้างปลา การทดลอง

  • ซุปก้อน การทดลอง

  • หัวปลา การทดลอง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์