โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพใบกระเพราและฮอร์โมนสังเคราะห์ในการล่อแมลงวันทอง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของใบกระเพราและฮอร์โมนสังเคราะห์ในการล่อแมลงวันทอง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ ใบกระเพราะ ฮอร์โมนสังเคราะห์ กับดักที่ทำจากขวดพลาสติกใส นาฬิกา และสำลี เป็นต้น วิธีทำการทดลองเริ่มโดยนำใบกระเพราะหรือฮอร์โมนสังเคราะห์มาใส่ไว้ในกับดักโดยมีช่องทางที่ให้แมลงวันทองบินเข้าและทำการจับเวลา จาการทดลองพบว่า ใบกระเพราะสามารถล่อแมลงวันทองได้ 58 ตัว ในขณะที่ฮอร์โมนสามารถล่อแมลงวันทองได้ 53 ตัว เมื่อวางห่างกัน 20 เมตร และได้ผลใกล้เคียงกันเมื่อนำตัวล่อทั้งสองวางไว้ใกล้กัน ประโยชน์ที่ได้คือสามารถกำจัดแมลงวันทองซึ่งทำลายผลผลิตของเกษตรกรหลายชนิดเช่น มะม่วง ขนุน ลำไย เป็นต้น ช่วยลดต้นทุนในการกำจัดแมลงวันทองและลดปัญหาสารพิษตกค้างในระบบนิเวศ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษณะ จินะการ
ธีรพงษ์ ต่างถิ่น
อำนาจ จอมแปง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ฮอร์โมน
แมลงวันทอง
ใบกระเพรา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์