โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาภูมิปัญญาการห่อข้าวด้วยใบไม้กับระยะเวลาการบูดของข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยาลักษณ์ อนันตฺหงสา
ชุลีวรรณ ตะวังทัน
หล้า รักประหยัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย รางวัลเชิดชูเกียรติ ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ข้าว เก็บรักษา
บรรจุภัณฑ์ การผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพของใบไม้แต่ละชนิดในการรักษาการคงสภาพของข้าวไว้ให้ได้นานที่สุด ซึ่งในโครงงานนี้มีการทดลอง 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 การสำรวจภูมิปัญญาในการนำใบไม้ชนิดต่างๆมาห่อข้าว ตอนที่ 2 ศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของใบไม้ และตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของใบไม้ในการถนอมอาหาร ผลการทดลองที่ 1 พบว่า ใบไม้ในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนิยมนำมาห่อข้าวมากที่สุด คือใบสัก ใบตองตึง ใบกล้วย ใบขมิ้น ใบผาแป้ง ผลการทดลองตอนที่ 2 ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของใบไม้ ใบไม้แต่ละชนิดมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน การศึกษาค่าความเป็นกรด-เบส ของใบไม้แต่ละชนิดพบว่า ใบตองตึงจะมีค่าความเป็นกรดมากที่สุด และใบผาแห้ง ใบสัก ใบกล้วย ใบขมิ้น ตามลำดับ ผลการทดลองที่ 3 พบว่า ใบตองตึงมีประสิทธิภาพในการห่อข้าวมากที่สุด