โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องภาชนะย่อยสลายทางชีวภาพทดแทนโฟมและพลาสติกด้วยเส้นใยจากเปลือกมะพร้าวเหลือใช้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิภา ป่ากุญชร

  • สมหญิง กุศลมณีเลิศ

  • สุภาวรรณ สิงขรไชย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสบเมยวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ภาชนะย่อยสลาย

  • เปลือกมะพร้าว เส้นใย

  • โฟม กำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีการศึกษาตัวประสานในการทำชิ้นทดสอบจากเปลือกมะพร้าว หาประสิทธิภาพทางกายภาพของชิ้นทดสอบจากเปลือกมะพร้าวโดยใช้ตัวประสานต่างกัน อัตราส่วนที่เหมาะสมของตัวประสานและเส้นใยจากเปลือกมะพร้าว การขึ้นรูปภาชนะและนำมาหาประสิทธิภาพในการรองรับอาหารของภาชนะ ประสิทธิภาพในการเสียสภาพ ศึกษาต้นทุนการผลิต เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และสอบถามความพึงพอใจ จากผลการทดลองพบว่า ส่วนต่าง ๆ ของเปลือกมะพร้าวสามารถนำมาทำภาชนะได้ต่างกัน โดยที่ส่วนที่สามารถขึ้นรูปภาชนะและมีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ ส่วนของขุยมะพร้าวผสมฝอยมะพร้าวละเอียด ตัวประสานที่มีความสามารถในการประสานภาชนะได้ดีที่สุด คือ กาวแป้งเปียก ในอัตราส่วนของแป้งกับน้ำ 50 กรัม ต่อน้ำ 200 มิลลิลิตรต่อส่วนของเปลือกมะพร้าว 20 กรัม อัตราส่วนของส่วนของขุยมะพร้าวต่อฝอยมะพร้าวละเอียดที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นรูปภาชนะมากที่สุด คือ อัตราส่วนขุยมะพร้าว 10 กรัมต่อฝอยมะพร้าว 10 กรัม