โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษจากต้นพงโดยใช้เยื่อผสมจากใบสับปะรด

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เยื่อกระดาษจากต้นพง ซึ่งผ่านการย่อยด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 3 mol/dm3 และฟอกสีด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 8% นำมาปั่นผสมกับเยื่อใบสับปะรดซึ่งผ่านการย่อยด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 mol/dm3 และฟอกสีด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 12% ทำการทดลอง 4 สูตร คือเยื่อต้นพงผสมเยื่อใบสับปะรดไม่ปั่น, เยื่อต้นพงผสมเยื่อใบสับปะรดไม่ปั่นเติมดินขาว, เยื่อต้นพงผสมเยื่อใบสับปะรดปั่น, และเยื่อต้นพงผสมเยื่อใบสับปะรดปั่นเติมดินขาว อัตราส่วน 1:1, 1:2, 1:3, 1:4 และ 2:1, 3:1, 4:1 กระดาษผสมที่เติมเยื่อสับปะรดไม่ปั่น 4 สูตรแรกลักษณะกระดาษไม่ค่อยเรียบ เนื้อกระดาษแข็ง กระดาษ 3 สูตรหลังจะเรียบและนุ่มกว่า ส่วนกระดาษที่เติมเยื่อสับปะรดปั่น และเยื่อสับปะรดปั่น และเยื่อสับปะรดปั่นเติมดินขาว กระดาษเรียบและมีเนื้อกลมกลืนกัน นำกระดาษที่ได้ไปทดสอบคุณภาพด้านการต้านแรงดึง กระดาษที่ต้านแรงดึงได้สูงที่สุดคือ กระดาษจากเยื่อต้นพงผสมเยื่อสับปะรดปั่น อัตราส่วน 1:4 ต้านแรงดึงขณะแห้งและเปียกได้ 28.56 และ 2.59 N/mm ตามลำดับกระดาษผสมเยื่อใบสับปะรดมีการต้านแรงดึงขณะแห้งและเปียกเพ่มขึ้นจากเดิม 70.20% และ 94.74% ตามลำดับ ดังนั้นการเติมเยื่อใบสับปะรดบลงไปผสมกับเยื่อต้นพงในอัตราส่วนดังกล่าวจะทำให้คุณภาพด้านการต้านแรงดึงสูงขึ้นกระดาษที่ได้เหมาะสำหรับนำไปทำดอกไม้ วาดรูปแผ่นการ์ด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • รุจิรัตน์ เมฆฉาย

  • วิภาณี ว่องกิจ

  • อาภรณ์ ตราเต็ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนินทร์ ย้อยพระจันทร์

  • อรุณ ตันพิพัฒน์

  • อรุณ รอดสั้น

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีพังงา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p90

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษ เยื่อต้นพงผสมเยื่อใบสับปะรด

  • คุณภาพกระดาษ การปรับปรุง

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์