โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพาะเห็ดนางรมโดยไม่ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเพาะเห็ดนางรมโดยไม่นึ่งฆ่าเชื้อ ทำการทดลองทั้งหมด 7 ชุดการทดลองคือ ชุด A, B, C, D, E, F และ G ชุด A เป็นชุดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ และเป็นชุดควบคุม ทำการทดลองที่อุณหภูมิห้อง, ชุด B ไม่นึ่งฆ่าเชื้อและทำการทดลองที่อุณหภูมิห้องเช่นกัน ส่วน C, D, E, F และ G ไม่นึ่งฆ่าเชื้อและทำการทดลองที่ช่วงอุณหภูมิ 20-25, 15-20, 10-15, 5-10 และ 0-5 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ทำการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงนี้โดยใช้น้ำแข็งตลอดการทดลอง อุณหภูมิให้อยู่ในช่วงนี้โดยใช้น้ำแข็งตลอดการทดลองอุณหภูมิเฉลี่ยของชุด A 28.3 องศา, ชุด B 27.5 องศา, ชุด C 22.8 องศา, ชุด D 17.5 องศา, ชุด E 12.8 องศา, ชุด F 7.9 องศา และ ชุด G 2.8 องศา ทำการทดลองและวัดอัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยทุก 3 วัน และหาค่าเฉลี่ย ตลอดการทดลองพบว่าชุด A มีอัตราการเจริญเติบโตของเส้นใย 8.22 มิลลิเมตร/วัน ชุด B บันทึกข้อมูลไม่ได้เพราะมีเชื้อราปนเปื้อน, ชุด C 4.6 มิลลิเมตร/วัน, ชุด D 4.3 มิลลิเมตร/วัน ชุด E 3.7 มิลลิเมตร/วัน, ชุด F และ G วัดไม่ได้เพราะอัตราการเจริญเติบโดต่ำมาก เปอร์เซนต์ความเสียหายของถุงเพาะเชื้อ ชุด A ร้อยละ 0, ชุดB ร้อยละ 100, ชุดC ร้อยละ 20, ชุดD ร้อยละ 10, ชุดE ร้อยละ 40, ชุดF และ G ร้อยละร้อยเท่ากัน การเพาะเห็ดโดยไม่นึ่งฆ่าเชื้อที่ช่วงอุณหภูมิ 20-25 องศา และ 15-20 องศา มีอัตราการเจริญเติบโตดีพอสมควร และมีค่าใกล้เคียงกันมาก คือ 4.6 มิลลิเมตร/วัน และ 4.3 มิลลิเมตร/วัน แต่ชุด C มีอัตราความเสียหายของถุงเพาะเชื้อมากกว่า ดังนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดนางรมโดยไม่ต้องซ่าเชื้อคือ ช่วงอุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จากการทดลองนี้อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการเพาะเห็ดโดยไม่ต้องนึ่งฆ่าเชื้อในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเช่น ภาคเหนือ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอน และลดการใช้พลังงานลงได้มาก ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีกำไรมากขึ้น เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงในกระบวนการนึ่งฆ่าเชื้อ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑาภรณ์ ผลแก้ว

  • ธรรมธิวา เงาะผล

  • เพลินพิศ นำพาผล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จรัญ รักสนิท

  • สุทธิพงษ์ ย้อยพระจันทร์

  • อรุณ รอดสั้น

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีพังงา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p78

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์