โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการตอนสักโดยวิธีชลประทานแบบหยด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จักรินทร์ ลานแก้ว
วิชาญ ปวนสุรินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิริชัย กันทะนะ
สมควร แสนเมืองใจ
เสน่ห์ ชุมแสน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(21) p77
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป085/2538 ไม้สัก (Tectona grandis) จัดได้ว่าเป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้เพราะไม้สักเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติของเนื้อไม้ที่ละเอียดอ่อน มีสีสันลวดลายงดงาม มีความทนทานต่อดินฟ้าอากาศ โรคแมลงต่าง ๆ ได้พอสมควร แต่ปัจจุบันไม้สักเริ่มจะลดจำนวนลงอย่างมาก จึงคิดหาวิธีที่จะขยายพันธุ์ให้ได้ผลเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยทดลองใช้การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลเร็ว ต้นทุนต่ำ ได้แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้วิธีการรดน้ำแบบธรรมดา กลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการรดน้ำชลประทานแบบหยด วัสดุที่ใช้ในการตอนเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น ขุยมะพร้าว แกลบเผา วัชพืชแห้ง ขี้เลื่อย นุ่น และใช้ดินเป็นกลุ่มควบคุม ปรากฏว่าวิธีการให้น้ำการตอนกิ่งสักที่ให้ผลดีที่สุดคือ วิธีการรดน้ำชลประทานแบบหยด และวัสดุที่ใช้ตอนที่ให้ผลดีคือ ดินผสมขุยมะพร้าว วิธีการดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต้นสักให้ได้ผลที่รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรได้อย่างมากในอนาคต