โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุลอยน้ำจากไส้มันสำปะหลัง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิระ ฮงสุน
สุทัศน์ ภู่ฉุน
สุพจน์ ชื่นทวี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(36) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
วัสดุ ทดแทน
โฟม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค เพื่อศึกษาหาวัสดุที่ใช้แทนโฟมในการประดิษฐ์กระทง คณะผู้จัดทำได้นำพืชหลายชนิดที่มีชนาดเบาลอยน้ำได้ดี เช่น ไส้มันสำปะหลัง ผักตบชวา กกธูปฤาษี มาทำการทดลองศึกษา โดยแบ่งการทดลองเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาผสมกับกระดาษโดยใช้ไส้มันสำปะหลังหยาบและละเอียด ลำต้นผักตบชวาละเอียด และใบกกธูปฤาษีละเอียด ทั้งหมดอยู่ในสภาพแห้ง นำมาผสมกับกระดาษโรเนียวสีน้ำตาล ซึ่งปั่นแล้วทำให้แห้งและแป้งเปียกในอัตราส่วน 4 : 1 : 1 อัดใส่แบบซึ่งทำจากท่อพีวีซี ถอดจากแบบนำไปอบ 9 ชั่วโมง ทดสอบคุณสมบัติด้านความหนาแน่น, การยึดเกาะของส่วนผสม ความแข็ง การรับแรงกดและระยะเวลาในการลอยน้ำ ผลการทดลองพบว่า ไส้มันสำปะหลังละเอียดผสมกับกระดาษจะทำให้ได้วัสดุลอยน้ำดีที่สุด ตอนที่ 2 ศึกษาหาอัตราส่วนของกระดาษกับไส้มันสำปะหลังที่จะทำให้ได้วัสดุที่ลอยน้ำได้ดีที่สุด พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมของไส้มันสำปะหลังกับกระดาษและแป้งเปียกที่ดี คือ อัตราส่วน 4 : 1 : 1, 5 : 1 : 1, 4 : 2 : 1 และ 5 : 2 : 1 ตอนที่ 3 ศึกษาหาอัตราส่วนและชนิดของสารช่วยยึดการกระดาษกับไส้มันสำปะหลัง พบว่าแป้งเปียกในอัตราส่วน 1 ส่วน เป็นสารยึดเกาะกระดาษกับไส้มันสำปะหลังที่ดีที่สุด ตอนที่ 4 ศึกษาหาชนิดของกระดาษที่นำมาผสมแล้วทำให้วัสดุลอยน้ำได้ดีที่สุดพบว่า กระดาษถ่ายเอกสารเป็นกระดาษที่ดีที่สุดที่จะนำมาผสม ตอนที่ 5 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติบางประการของวัสดุลอยน้ำที่ประดิษฐ์ด้วยส่วนผสมที่ดีที่สุดกับโฟมพบว่าโฟมจะเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนวัสดุลอยน้ำจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม