โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องลดมลพิษการแช่ปอ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จันทร์เพ็ญ ปัตถา

  • สมจิตร ศรีดาหลง

  • สมใจ ยุญโยธา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7(19) p81

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ภาวะมลพิษ การแก้ไข

  • มลพิษทางน้ำ จากการแช่ปอ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญหามลพิษทางน้ำจากการแช่ปอ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับชุมชนที่มีแหล่งน้ำน้อย ดังนั้นจึงดำเนินการศึกษาทดลองเพื่อลดมลพิษจากการแช่ปอ โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 หาสารที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายปอตามพื้นบ้านคือ ปูนขาว ยางมะละกอ ยางดอกรัก เอนไซม์ (เถาตดหมา) ขี้เถ้า ด่างฟอกไหม ผงซักฟอก (บรีสคัลเลอร์) น้ำ พบว่าปูนขาวมีคุณสมบัติในการย่อยสลายดีที่สุด รองลงมาคือด่างฟอกไหม ขั้นตอนที่ 2 นำปูนขาวมาหาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการย่อยสลายปอ คือ ใช้ในอัตราส่วนมวลต่อปริมาตรของน้ำคือ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 และ 20 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากการทดลองได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดคือปูนขาว 10 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 10 - 14 วัน ซึ่งย่นระยะเวลาในการแช่ปอแบบธรรมดาได้ประมาณ 9 - 12 วัน ขั้นตอนที่ 3 นำน้ำเสียที่ได้จากการแช่ปอมาลดมลพิษ โดยใช้สารส้ม ถ่านและคลอรีนโดยใช้ถ่านปริมาณ 5 กรัม เติมลงในน้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สามารถลดกลิ่นของน้ำแช่ปอได้ ใช้สารส้มเติมเพื่อทำให้ตกตะกอนและปรับค่า pH ให้เป็นกลาง ใช้สารละลายคลอรีนที่เข้มข้น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อ 0.01 กรัม (น้ำ : คลอรีน) ใช้จำนวน 3 หยดต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งทำให้ปลาหางนกยูงสามารถมีชีวิตอยู่รอดไม่นานกว่าที่ไม่ได้ปรับสภาพน้ำ