โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษจากหญ้าตีนกา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กรัณฑรัตน์ ตียสรศัย
อังสุมาลิน ชลฤทธิ์
อุษา คำหนัก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำเจียก โรมพันธ์
วันเพ็ญ ชมภูแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(21) p70
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
หญ้าตีนกา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ต071/2538 อาชีพผลิตกระดาษในจังหวัดลำปาง เป็นอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ต้นสาซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษสา จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตกระดาษสา ผู้จัดทำโครงงานจึงได้ศึกษาหาวัสดุที่สามารถนำมาผลิตกระดาษสาแทนต้นสา ในการทดลองนี้ จึงได้นำหญ้าตีนกามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ ซึ่งเป็นการกำจัดวัชพืช และเป็นแนวทางในการผลิตกระดาษจากหญ้า โดยแยกส่วนต่าง ๆ ของหญ้าตีนกา คือ ใบ ลำต้น ดอก และหญ้าตีนกาทั้งต้น จากการทดลองพบว่า ในขั้นตอนที่ 1 ส่วนของหญ้าตีนกา กระดาษที่ได้คุณภาพดีที่สุด คือ ใบผสมกระดาษหนังสือพิมพ์ ในขั้นตอนที่ 2 หญ้าตีนกาทั้งต้น กระดาษที่ได้คุณภาพดีที่สุด คือ หญ้าตีนกาผสมแป้งเปียกกับกระดาษหนังสือพิมพ์ ในขั้นตอนที่ 3 ส่วนของหญ้าตีนกาต้มกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ กระดาษที่ได้คุณภาพดีที่สุด คือ ใบของหญ้าตีนกาล้วน ในขั้นตอนที่ 4 หญ้าตีนกาทั้งต้นต้มโซเดียมไฮดรอกไซด์ กระดาษที่ได้คุณภาพดีที่สุด คือ หญ้าตีนกาล้วน สำหรับกระดาษจากหญ้าตีนกาสามารถนำมาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์จากกระดาษ เช่น ดอกไม้ ที่ใส่ซองจดหมาย เป็นต้น