โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการลดพิษของไตรอะโซฟอสในผักคะน้าโดยวิธีการล้างด้วยสารละลายต่างๆ และโดยการประกอบอาหารด้วยวิธีต่างๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นลิน บุญหลง
ปฐมาภรณ์ เล็กประเสริฐ
อัจฉรา แซ่ลิ้ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7 (18) p58
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
คะน้า การกำจัดสารตกค้าง
วัตถุมีพิษทางการเกษตร การกำจัด
สารพิษ การกำจัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เกษตรกรจะใช้วัตถุมีพิษในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และได้ผลดี แต่ผลเสียจะอยู่กับผู้บริโภคซึ่งอาจได้รับอันตรายจากวัตถุมีพิษที่ใช้ได้ เพื่อป้องกันและลดอันตรายจากการบริโภคผัก คณะผู้ทดลองจึงได้ทำการทดลองลดพิษไตรอะโซฟอสในผักคะน้า โดยวิธีล้างด้วยสารละลายต่างๆ และนำมาประกอบอาหารโดยกรรมวิธีต่างๆ ผลจากการทดลองพบว่าการล้างด้วยสารละลายต่างๆ สามารถลดพิษได้ดีตามลำดับดังนี้ แช่ด้วยน้ำประปาผสมน้ำยาล้างจานแอมเวย์ สามารถลดพิษได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 69.90 แช่ด้วยน้ำประปาผสมเกลือแกงลดพิษได้ร้อยละ 44.93 แช่ด้วยน้ำประปาผสมน้ำส้มสายชูลดพิษได้ร้อยละ 44.83 แช่ด้วยน้ำประปาผสมเกล็ดด่างทับทิมลดได้ร้อยละ 42.90 แช่ด้วยน้ำประปาลดพิษได้ร้อยละ 42.72 หลังการฉีดพ่นวัตถุมีพิษ แล้วปล่อยผักทิ้งไว้ในแปลงทดลอง 3 วัน และ 5 วัน สามารถลดพิษได้ร้อยละ 16.51 และ 63.89 ตามลำดับ สำหรับการนำผักมาประกอบอาหารสามาถลดพิษได้ดังนี้ การต้มสามารถลดพิษได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 66.26 การนึ่งลดได้ร้อยละ 49.71 การผัดลดได้ร้อยละ 46.11 การลวกลดได้ร้อยละ 45.03