โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการออกแบบชิ้นงานจากโครงถัก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของโครงถักที่ทนทานต่อการรองรับน้ำหนัก เพื่อศึกษาความสูงของเสาเหล็กรูปพรรณที่ทนทานต่อการรับแรงกด เพื่อศึกษาขนาดหน้าตัดของเหล็กรูปพรรณที่ทนทานต่อการรองรับน้ำหนัก จากการศึกษาพบว่ารูปแบบโครงถักแบบ K มีความทนทานต่อการรองรับน้ำหนักมากกว่ารูปแบบโครงถักแบบ Howe ซึ่งโครงถักรูปแบบ K สามารถรองรับน้ำหนักดินน้ำมันได้ 13 ก้อน และ Howe รับได้จำนวน 9 ก้อน จากการศึกษาความสูงของเสาเหล็กรูปพรรณที่เหมาะสมและทนทานต่อการรับแรงกด พบว่าความสูงของเสาเหล็กรูปพรรณที่ 2 เมตร สามารถรับแรงกดที่สูงสุดที่ 28,471.533 กิโลกรัม ซึ่งสามารถรับแรงกดได้ดีกว่าเสาเหล็กรูปพรรณที่ 4 และ 6 เมตร เมื่อกำหนดให้ K factor = 0.85, Fy = 240 MPA, A = 21.17 sq.cm., R = 4.89 และ E = 2.1 x 105 และจากการศึกษาขนาดหน้าตัดของเหล็กที่ทนทานต่อการรองรับน้ำหนัก พบว่าขนาดหน้าตัดของเสาเหล็กรูปพรรณที่ 23.36 sq.cm. (R = 4.86) สามารถรับน้ำหนักสูงสุดที่ 14,614.016 กิโลกรัม ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าขนาดหน้าตัดของเสาเหล็กรูปพรรณที่ 21.17 sq.cm. (R = 4.89) และ 15.33 sq.cm. (R = 4.95) เมื่อกำหนดให้ L = 600, Fy = 240 MPA, K factor = 0.85 และ E = 2.1 x 105
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนัฏฐา มหัทธนอภิสร
อัจจิมา เจริญรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญเงิน ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
โครงถัก การศึกษา
โครงถัก การออกแบบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์