โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถุงเพาะยุคใหม่...ใส่ใจโลกร้อน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

วิธีการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การนำเมล็ดมะขาม เมล็ดจามจุรี และเมล็ดหางนกยูง ไปบดให้เป็นผง ผสมกับผงโซเดียมไฮดรอกไซด์และบอแรกซ์ สังเกตุลักษณะของสารและนำไปทดลองติดกระดาษ จากนั้นนำสารที่ได้มาเป็นส่วนผสมหนึ่งของเส้นใยจากพืชธรรมชาติและเศษกระดาษ โดยทำการทดลองกับเส้นใยของกาบมะพร้าว กาบกล้วยและผักตบชวา ในอัตราส่วนเศษกระดาษต่อเส้นใยพืชต่อกาว เท่ากับ 1 : 1 : 10 นำส่วนผสมนั้นไปทำถุงเพาะชำขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 6.5 เซนติเมตรและสูง 16.5 เซนติเมตร ทดสอบคุณภาพของถุงเพาะชำโดยการแช่น้ำนาน 3 ชั่งโมง จากนั้นเปลี่ยนอัตราส่วนของส่วนผสมต่าง ๆจาก 1 : 1 : 10 เป็น 2 : 1 : 10 และ 3 : 1 : 10 ตามลำดับนำไปศึกษาคุณภาพของถุงเพาะชำ โดยการแช่น้ำและการรับน้ำหนักของถุงทราย นำถุงเพาะชำที่ผลิตขึ้นไปเพาะชำเมล็ดผักบุ้งเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งกับการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำ ผลการศึกษาพบว่า ผลแป้งที่ได้จากเมล็ดมะขามเมื่อนำมาผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์และบอแรกซ์ จะเกิดเป็นสารสีน้ำตาล ข้นคล้ายมะขามเปียก มีความเหนียว และสามารถนำไปติดกระดาษได้เช่นเดียวกับกาวลาเท็กซ์ เมื่อผลิตถุงเพาะชำจากเศษกระดาษต่อส้นใยของกาบมะพร้าวมีคุณภาพดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยของกาบกล้วยและผักตบชวา และได้ผลใกล้เคียงกับถุงเพาะชำพลาสติกสีดำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนกนาถ นมะภัทร์

  • สุภาภรณ์ กวนไวยบุตร

  • เสาวรส เอี่ยมบุรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพิชัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ถุงเพาะชำ

  • สิ่งประดิษฐ์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์