โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการตรวจหายาปฏิชีวนะและฟอร์มาลินตกค้างในอาหารโดยใช้สารสกัดจากพืชบางชนิด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิติกร พนมเกียรติศักดิ์
ศิวฤทธิ์ เตียสุวัติเศรษฐ
อัครรัตน์ ไชยธรรม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กรรณิกา วรสาร
บังอรรัตน์ มูลมาตย์
มานิต เตียสุวัติเศรษฐ
รัตนาภรณ์ ศรีประโชติ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ฟอร์มาลิน
อาหาร การเจือปนและการตรวจสอบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาวิธีทดสอบยาปฏิชีวนะและฟอร์มาลินที่ตกค้างในอาหารโดยใช้สารสกัดจากพืชบางชนิดในท้องถิ่น โดยแบ่งการทดลองเป็นดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและฟอร์มาลิน ตอนที่2 ทดสอบสารที่สกัดได้จากพืชกับฟอร์มาลินและยาปฏิชีวนะเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง โดยทำการทดลองกับพืชจำนวน 100 ชนิด ตอนที่3 ทดสอบหาส่วนของพืชและวิธีการสกัดสารจากพืชที่ให้ปฏิกิริยารวดเร็วและชัดเจน ตอนที่4 ทดสอบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการนำไปทดสอบกับอาหารในท้องตลาดทั่วไป จากการศึกษาพบว่า พืชที่ทำปฏิกิริยากับฟอร์มาลินแล้วเกิดเป็นตะกอนอย่างรวดเร็วและชัดเจนที่สุด คือ ใบมะยมแก่ ที่สกัดโดยไม่ต้องต้ม และความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการตรวจหาฟอร์มาลิน คือ ใบมะยมแก่ 100 กรัม : น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถทดสอบฟอร์มาลินในระดับความเข้มข้น 1 % , 10 % และ 100 % โดยใช้เวลา 0.43, 0.34 และ 0.25 นาที ตามลำดับ ส่วนพืชที่ทำปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะแล้วเกิดเป็นตะกอน คือ ใบเทียนทองแก่ ที่สกัดโดยไม่ต้องต้ม และความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อทดสอบยาปฏิชีวนะ คือ ใบเทียนทองแก่ 100 กรัม : น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถทดสอบยาปฏิชีวนะในระดับความเข้มข้น 1 % , 10 % และ 100 % โดยใช้เวลา 1.38, 1.19 และ 1.13 นาที ตามาลำดับ