โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการใช้สีจากส่วนของเปลือกพืชย้อมโครโมโซมรากหอม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับการนำส่วนต่าง ๆ ของเปลือกพืชมาสกัดสีย้อมโครโมโซมรากหอม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่านในการซื้อสีย้อมโครโมโซมจากต่างประเทศ ดำเนินการทดลองโดยนำส่วนเปลือกลำต้น ได้แก่ แค ประดู่ มะเฟือง หอมแดง เปลือกราก ได้แก่ กระชาย มันเลือด มันเทศ แครอท เปลือกเมล็ดได้แก่ มะขาม ถั่วลิสง ถั่วแดง ขนุน และเปลือกหุ้มผลได้แก่ มังคุด ลูกว้า องุ่น แอปเปิล นำมาผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาสกัดสีโดยใช้อัตราส่วน เปลือกพืช : กรดอะซิติก : เอทิลแอลกอฮอล์ (1 : 2 : 2) โดยปริมาตร g : cm3 นำมาบรรจุใส่ขวดรูปชมพู่ ทิ้งไว้ 3 วัน ใช้ผ้าขาวบางกรองน้ำสี แล้วไปปั่นในเครื่องปั่นตะกอน 15 นาที่ จะได้น้ำสีทั้งหมด 16 สี เตรียมหัวหอมแดงมาปลอกเปลือกแล้วแบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดแรกแช่ด้วยน้ำเปล่า ชุดที่ 2 แช่ด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน และชุดที่ 3 แช่ด้วยน้ำมะพร้าวแก่ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำหัวหอมแดงมาวางบนตะแกรงที่อยู่บนผิวน้ำ เมื่อหัวหอมแดงงอกรากได้ 1 วัน ทำการตัด แล้วนำมาเก็บไว้ในสารละลายฟิกเซทีฟ แล้วนำรากหอมที่ได้มาย้อมสีทั้ง 16 สี ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า สีที่ย้อมติดโครโมโซมได้ชัดที่สุด คือ สีจากเปลือกเมล็ดมะขาม สีจากเปลือกลูกหว้า สีจากเปลือกหอมแดง และสีจากเปลือกมันเลือด นำสีที่ได้ทั้ง 4 มาเพิ่มกรดอะซิติก ในอัตราส่วน 1:1 1:2 และ 1:3 โดยใช้น้ำสี 1 cm3 ต่อกรดอะซิติก 1 cm3 2 cm3 และ 3 cm3 นำมาย้อมสีโครโมโซมรากหอม แล้วนำไปเปรียบเทียบ ผลปรากฏว่า สีจากเปลือกเมล็ดมะขามในอัตราส่วน 1:2 ติดสีชัดที่สุด รองลงมาคือสีจากเปลือกลูกหว้า นำสีจากเปลือกเมล็ดมะขามที่เพิ่มกรดอะซิติก 1:2 มาใส่ผงตะใบเหล็กในอัตราส่วน น้ำสี 10 cm3 ต่อผงตะใบเหล็ก 0.05 g ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำมาปั่นตะกอนออกด้วยเครื่อง Centrifuge นำน้ำสีที่ได้มาย้อมรากหอมที่งอก 1 วัน ผลปรากฎว่าย้อมได้ชัดเจนใกล้เคียงกับการย้อมด้วย Aceto-carmine
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤตภาส ผินสันเทียะ
ทวีศักดิ์ ไทยแสง
อารีวรรณ ดุนขุนทด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เตือนจิต สนสมบัติ
ไพโรจน์ ผิวเณร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
รากหอม
เปลือกพืช การย้อม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์