โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเวกออกฤทธิ์พิชิตเพลี้ยแป้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุวรรณ ต้นบุญ
จุฑามาศ รอดทอง
พรกมล มีทา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขนิษฐา ก่อเกิดกูล
ศศิประภา เทพวิมลเพชรกุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคกลาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ใสปลูกพืชผักสวนครัวหรือพืชสวนมักจะพบเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ตามลำต้น ใบและผลของพืชที่เราปลูกอยู่เสมอ ทำให้พืชได้รับความเสียหายไม่น่ารับประทาน เมื่อนำออกจำหน่ายจะทำให้เสียราคา และต้องทำลายพืชที่มีเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่ทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง โครงงานนี้ได้เริ่มจากการศึกษาเกี่ยวกับกลิ่นของดอกไม้ที่จะใช้ในการฆ่าเพลี้ยแป้ง ซึ่งได้นำดอกการเวก ดอกมะลิ ดอกจำปี ดอกลีลาวดี และดอกนางแย้ม มาเปรียบเทียบจำนวนเพลี้ยแป้งที่ตาย ผลปรากฏว่ากลิ่นของดอกการเวกและดอกจำปีสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้ดีกว่ากลิ่นของดอกไม้อื่น เราจึงนำกลิ่นของดอกการเวกและดอกจำปีมาทดลองเปรียบเทียบจำนวนการตายของเพลี้ยแป้ง โดยจัดการทดลองให้อยู่ใน3ระบบ คือ ระบบเปิด ระบบกึ่งปิด และระบบปิด ผลปรากฏว่า กลิ่นของดอกการเวกในระบบปิดสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้ดีที่สุดและนอกจากนั้นยังสามารถไล่เพลี้ยแป้งได้ดีเมื่ออยู่ในระบบเปิด และระบบกึ่งปิด ส่วนดอกจำปีก็สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งและไล่เพลี้ยแป้งได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพยังน้อยกว่าดอกการเวก เราจึงนำดอกการเวกมาศึกษากลิ่นต่อจำนวนการตายของเพลี้ยแป้ง โดยเพิ่มจำนวนดอกการเวกทีละ5กรัม จนถึง30กรัม ซึ่งปริมาณกลิ่นของดอกการเวกเพียง5กรัม ก็สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้จำนวน50ตัว ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับปริมาณกลิ่นของดอกการเวกที่มากที่สุดคือ30กรัม แสดงว่า ปริมาณกลิ่นของดอกการเวก คือ 5กรัม ก็สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้50ตัว เราจึงนำดอกการเวกมา5กรัม มาทดสอบกับเพลี้ยแป้งที่เพิ่มขึ้นทีละ50ตัว จนถึง200ตัว ผลปรากฏว่า ดอกการเวก5กรัม (1ดอก) สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้ถึง200ตัว จากนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงดำเนินการนำกลิ่นดอกการเวก1ดอกไปทดลองในสภาพจริง พบว่าสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้ถึง80% เช่นเดียวกับในห้องปฏิบัติการ แต่วิธีดำเนินการดังกล่าวข้างต้นคือ การฆ่าเพลี้ยแป้ง โดยใช้กลิ่นของดอกการเวกยังมีข้อจำกัดอยู่คือ เวลานำไปใช้ต้องรอให้ดอกบานและส่งกลิ่นซึ่งจะป็นช่วงตอนเย็น จึงไม่ค่อยสะดวกเท่าที่ควรและการฆ่าต้องทำในระบบปิด ถ้าเป็นระบบเปิดเหมือนสภาพธรรมชาติทำได้เพียงไล่เท่านั้น ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราสามารถสังเคราะห์กลิ่นของดอกการเวกได้เช่นเดียวกับกลิ่นดอกนมแมวซึ่งเป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน มาฉีดพ่นเพลี้ยในสภาพจริงน่าจะเป็นแนวทางที่สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม