โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาคุณสมบัติการเป็นสารดูดซับจากผลิตภัณฑ์เหลือใช้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประภัสสร ฉายาวาศ

  • ภาณุวัตร พันธ์สิทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนวมราชานุสรณ์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทย์กายภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การดูดซับ

  • ไคโตแซน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการศึกษาการนำเปลือกกุ้งกุลาขาวมาสกัดเป็นไคโตแซน นำไคโนแซนที่ได้ละลายด้วยกรดแลคติคในอัตราส่วนต่อน้ำ 1:9 โดยใช้ไคโตแซนที่ 0.2 g 0.6 g 1 g 1.4 g 2 g ได้สารละลายจำนวน 40 ml. จากนั้นนำผ้าปิดแผลขนาด 15 x 18.5 cm. แช่ในสารละลายไคโตแซนทีเตรียมไว้ เป็นเวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 50 องศา นำมาอบแห้งได้ผ้าปิดแผลที่มีส่วนผสมของสารละลายไคโตแซนทำการศึกาการดูดซับน้ำโดยใช้ผ้าปิดแผลที่มีส่วนผสมของสารละลายไคโตแซนดูดซับน้ำกลั่นจำนวน 100 ml. ทิ้งไว้ 30 นาที ที่อุณหภูมิห้อง ตรวจสอบปริมาณน้ำที่เหลือ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม พบว่าผ้าปิดแผลที่มีปริมาณสารละลายไคโตแซน 2 g สามารถดูดซับน้ำได้มากที่สุด