โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเยื่อมะพร้าวแทนโฟม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันนี้มีการนำโฟมมาใช้ทำกล่องบรรจุของต่าง ๆ ทำตัวอักษร พวงหรีด ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้เกิดมลภาวะเมื่อกำจัดทิ้ง จึงได้คิดนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่าย ย่อยสลายได้ ได้แก่เส้นใยจากผลมะพร้าวที่เรียกว่ากาบมะพร้าวมาแปรรูปใช้แทนโฟม จากการทดลองพบว่า เมื่อนำเส้นใยมะพร้าวมาทำให้ยุ่ยและอ่อนตัวลงโดยต้มกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 2 โมล/ลิตร เป็นเวลานาน 5 ชั่วโมง แล้วล้างน้ำให้สะอาดนำไปฟอกสีโดยต้มกับสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์เป็นเวลานาน 15 นาที นำไปล้างน้ำแล้วปั่นให้เส้นใยสั้นลง นำเส้นใยที่ได้ไปใส่ในน้ำ แล้วร่อนเยื่อด้วยตะแกรง นำไปตากให้แห้งได้แผ่นเส้นใยที่มีสีน้ำตาลอ่อน ยุ่ย ไม่เกาะกัน จึงทดลองนำเส้นใยมะพร้าวมาใส่วัสดุประสานต่าง ๆ กันได้แก่ ชันสน แป้งมัน ดินขาว และสารส้ม พบว่าได้เส้นใยที่ติดกันเป็นแผ่นแต่ยังมีสมบัติไม่ดีนัก ต่อมาจึงทดลองใส่วัสดุประสานทุกชนิดลงไปในเส้นใยพร้อม ๆ กันคือ ชันสน แป้งมัน ดินขาว และสารส้ม เมื่อตากแห้งแล้วพบว่า เป็นแผ่นเส้นใยที่มีสมบัติเนื้อแน่น ผิวเรียบ ลื่นมือ ทึบแสง สามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นของใช้แทนโฟมได้ เช่นทำกล่อง แต่ถ้านำกล่องที่ได้นี้ไปใส่อาหาร อาจได้รับสารเคมีเป็นอันตรายได้ จึงทดลองใช้วุ้นจากหางจระเข้เป็นวัสดุประสานแทนสารเคมี ได้แผ่นเยื่อที่มีลักษณะเหมือนกับใช้ชันสน แป้งมัน ดินขาว และสารส้มรวมกัน และพบว่าสามารถลอกออกมาเป็นแผ่นได้ง่ายกว่าต่อมาจึงนำแผ่นเส้นใยมะพร้าวมาแปรรูปเป็นของใช้ เช่น ทำกล่องรูปร่างต่าง ๆ โดยนำแผ่นเส้นใยมะพร้าวมาฉีกหรือตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ชุบแป้งเปียกแล้วปะซ้อน ๆ กัน เพื่อให้หนาขึ้นรับน้ำหนักได้มากและสามารถรักษารูปทรงไว้ได้ ของใช้จากเส้นใยมะพร้าวนี้เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ย่อยสลายง่าย เมื่อกำจัดทิ้งไม่เกิดมลภาวะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิฏิกา เอี่ยมตาล
ธนิยา เกตุเทศ
ประภาศรี มีเนตรขำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐานียา ว่องวิญญู
วนิดา ปานสมบัติ
สุรางค์ ประทุมโทน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p75
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กาบมะพร้าวแทนโฟม
โฟม จากเส้นใยมะพร้าว
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์