โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปุ๋ยหมักจากวัสดุป้องกันการบอบช้ำ (ผักตบชวา)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกพรรณ ศักดิ์สุริยา
กิตติศักดิ์ จิตต์โถรี
ธาตรี อัศวกิติพงษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เพ็ญศรี ศรีบุญชู
ไพรัตน์ ฤทัยประเสริฐศรี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p79
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปุ๋ยหมัก
ผักตบชวา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป250/2539 โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการนำผักตบชวามาใช้แทนวัสดุป้องกันการบอบช้ำประเภทโฟม เพื่อลดปริมาณการใช้โฟม และนำมาเป็นปุ๋ยหมักหลังจากใช้ป้องกันการบอบช้ำเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นการเสนอรูปแบบการลดปริมาณผักตบชวาในกว๊านพะเยาที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ สร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านท้องถิ่นและเพิ่มคุณภาพให้กับดิน ผลจากการศึกษาและพัฒนาสมบัติทางกายภาพของผักตบชวา ในเรื่องเกี่ยวกับ การเกิดเชื้อราในผักตบชวา การรักษาสภาพเดิมของผักตบชวา อุณหภูมิในบรรจุภัณฑ์ของวัสดุประเภทผักตบชวาและโฟม การเปรียบเทียบคุณภาพในการใช้งานระหว่างผักตบชวากับโฟม และการเปรียบเทียบความยืดหยุ่น ระหว่างวัสดุแบบโฟม และแบบผักตบชวานั้น นับว่าผลของการใช้ผักตบชวาป้องกันการบอบช้ำแทนโฟมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นได้ผลอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลไม้ด้วย และผักตบชวาก็เป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งเมื่อใช้ป้องกันการบอบช้ำของผลไม้แล้ว ยังสามารถจะนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้ จากผลศึกษาและพัฒนาการทำปุ๋ยหมักในเรื่อง การวิเคราะห์หาอินทรีย์วัตถุ ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในปุ๋ยหมัก การหาน้ำหนักก่อนและหลังหมักพร้อมทั้งเวลาที่ใช้ในการหมักจนสามารถนำมาใช้ได้ ทำให้ทราบว่าปุ๋ยหมักที่ทำจากผักตบชวาไม่ได้ด้อยไปกว่าปุ๋ยหมักอื่น ๆ และที่สำคัญปุ๋ยหมักที่ทำจากผักตบชวานั้นกลับมีธาตุกำมะถันอยู่ด้วย ซึ่งได้มาจากการอบกำมะถันก่อนนำมาทำวัสดุป้องกันการบอบช้ำแล้ว จึงทำให้ปุ๋ยหมักนี้มีจุดเด่นกว่าปุ๋ยหมักอื่นเพราะมีธาตุกำมะถันอยู่อย่างเพียงพอและมีธาตุฟอสฟอรัสที่มีปริมาณเด่นกว่าปุ๋ยหมักชนิดอื่น ทำให้เหมาะที่จะใช้กับลำไยซึ่งเป็นผลไม้ที่ปลูกมากของจังหวัดพะเยา และทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้นอีกด้วย