โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษจากต้นหม่อน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเอาเปลือกของต้นหม่อนมาทำเป็นเยื่อกระดาษและผลิตเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากต้นหม่อนแต่เดิมสามารถนำเอาเฉพาะใบมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงไหมเท่านั้น กิ่งก้านของต้นหม่อนถูกตัดทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งต้นหม่อนสามารถปลูกได้ง่ายและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จากการทดลองพบว่า เปลือกของต้นหม่อนตากแห้งสามารถทำเป็นกระดาษได้ดีกว่าเปลือกของต้นหม่อนสด เมื่อนำเอาเปลือกของต้นหม่อนที่ขูดผิวนอกออกแล้ว นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วแช่น้ำ 1 คืน ตัดให้เป็นท่อนเล็ก ๆ เท่ากับ 2 นิ้ว ต้มให้เดือดในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้นร้อยละ 0.5 นาน 50 นาที ล้างน้ำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์ออกให้หมด นำไปทุบหรือปั่นด้วยเครื่องปั่นให้เส้นใยแตกละเอียด ถ้าต้องการให้เส้นใยขาวจะฟอกสีด้วยสารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรต์เข้มข้นร้อยละ 2 นำไปย้อมสีด้วยสีย้อมผ้าตามต้องการ จากนั้นนำเยื่อที่ปั่นได้ไปใส่ในตะแกรงไนล่อนซึ่งแช่ในถาดน้ำ ใช้มือแตะให้เยื่อกระจายทั่วทั้งแผ่น ค่อย ๆ ยกขึ้นจากน้ำนำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิทดีแล้ว จึงดึงกระดาษออกจากตะแกรง พบว่าได้กระดาษที่มีคุณภาพที่ดี มีเส้นใยที่สวยงาม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรรมณิการ์ สมสวัสดิ์

  • วิไลพร หม่อม

  • อัจฉรา โกมลนาค

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • คำนึง พัตตาสิงห์

  • ศรีอุบล อรุโณทยานันท์

  • สำราญ โปธานนท์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสันทรายวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p76

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษ จากต้นหม่อน

  • ต้นหม่อน ใช้เปลือกทำกระดาษ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์