โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเปรียบเทียบสารสกัดหยาบจากยอดใบสาบเสือและยอดผักโขมเร่งการเกิดรากของมันสำปะหลัง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเปรียบเทียบสารสกัดหยาบจากยอดใบสาบเสือและยอดผักโขมเร่งการเกิดรากของมันสำปะหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำละลายและความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการสกัดสารสกัดหยาบจากยอดสาบเสือและยอดผักโขมเพื่อนำสารสกัดหยาบที่ได้มาใช้ในการเร่งการเกิดรากของท่อนมันสัมปะหรัง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารสกัดจากยอดสาบเสือและยอดผักโขมซึ่งตัวทำละลายที่ใช้คือเมธิลอัลกอฮอลล์ 99% และน้ำสะอาด ผลการศึกษาพบว่าตัวทำละลายที่สามารถเร่งการเกิดรากของท่อนมันสำปะหรังที่ดีที่สุดคือ เมธิลอัลกอฮอลล์ 99% ตอนที่ 2 หาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเกิดรากมันสำปะหลัง โดยใช้ระดับความเข้มข้น 4 ระดับ คือ 100, 200, 300, 400 โมล/ลิตรและชุดควบคุม 1 ชุด พบว่าสารสกัดจากยอดใบสาบเสือมีอัตราการเกิดรากเฉลี่ยอยู่ที่ 38.67, 22.33, 6.00, 2.67 เส้นและสารสกัดจากผักโขมมีจำนวนรากเฉลี่ยเท่ากับ 10.00, 5.00, 4.33, 3.00 เส้นชุดควบคุมมีอัตราการเกิดรากเฉลี่ยอยู่ที่ 8.67 เส้น ดังนั้นการใช้สารสกัดหยาบจากยอดสาบเสือที่สกัดด้วยเมธิลอัลกอฮอลล์ 99% ที่ความเข้มข้น 100 โมล/ลิตร สามมรถให้ผลแตกต่างจากการที่เกษตรกรไม่ใช้สารเร่งราก ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำวัชพืชที่ไม่มีประโยชน์มาใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังไม่มีสารเคมีตกค้างในดินและสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีต่อเกษตรกรและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วราภรณ์ หมอยาดี

  • วิการดา แซ่ลี้

  • อุไรวรรณ อาจเสนา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทชีวภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผักโขมสารสกัด

  • มันสำปะหลังการเจริญเติบโต

  • ใบสาบเสือสารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์