โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถังดักไขมันพลังกล้วย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างถังดักไขมันพลังกล้วย 2) เพื่อเปรียบเทียบการดักไขมันของกล้วยต่างพันธุ์และไส้ดักที่มีลักษณะต่างกัน ตามสมมุติฐานถังดักไขมันพลังกล้วยที่ทำจากกาบใบกล้วยในการดัก มีเซลลูโลส ปริมาณสารแทนนินมากและไส้ดักมีลักษณะแน่น มีพื้นที่ใช้ในการดักมาก น้ำซึมผ่านช้า มีประสิทธิภาพในการดักไขมันได้ดีที่สุด ในการประดิษฐ์ได้มีวิธีการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ประดิษฐ์ถังดักไขมันพลังกล้วย ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบการดักไขมันในกาบกล้วยต่างชนิดกัน ขั้นตอนที่ 3 หาค่า pH ในกาบกล้วย ขั้นตอนที่ 4 ประดิษฐ์ไส้ดักไขมัน ขั้นตอนที่ 5 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของไส้ดักไขมัน และขั้นตอนที่ 6 ทดลองใช้ โดยอาศัยหลักการทำงานของไขมันพลังกล้วยตามที่ออกแบบ 3 ถัง คือ ถังใบที่ 1 ทำหน้าที่แยกเศษอาหาร ถังใบที่ 2 ทำหน้าที่ตกตะกอนเศษอาหาร ถังใบที่ 3 ทำหน้าที่ดักไขมัน ผลการศึกษาพบว่าถังดักไขมันพลังกล้วยที่ได้จากสายพันธุ์น้ำว้ามีการดักไขมันได้ดีที่สุดจากกล้วย 4 ชนิด คือ กล้วยไข่ กล้วยหอม และกล้วยป่า เมื่อทดสอบค่า pH เท่ากับ 9 เมื่อนำมาประดิษฐ์เป็นไส้ดักที่มีลักษณะถักเปียและม้วนเป็นก้นหอยกับถ่าน ไส้ดักจะมีลักษณะแน่น มีพื้นที่ในการดักไขมันมาก น้ำซึมผ่านได้ช้า ไขมันที่เหลือจากการดักของถังดักไขมันมีปริมาณน้อย จึงมีประสิทธิภาพในการดักไขมันได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ไส้ดักชนิดที่ 3 และไส้ชนิดที่ 1 ตามาลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาตาก พบว่าไส้ดักที่ใช้เวลาในการตากมากทำให้ปริมาณน้ำในการใบลดลง ยิ่งมากจะมีประสิทธิภาพในการดักไขมันได้ดี และเมื่อนำไปทดลองใช้ในร้านอาหารของโรงเรียนและสอบถามความพึงพอใจของเจ้าของร้านโดยการสัมภาษณ์ พบว่าเจ้าของร้านมีความพึงพอใจกับถังดักไขมันพลังกล้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชญานภัส วุฒิสาร

  • ชญานภัส สิทธิกา

  • ชนาธิป รุณอินตา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนาธิป อาราธนกุล

  • ศิริลักษณ์ ทรายคำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญทอง ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กล้วย กาบ

  • ถังดักไขมัน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์