โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องใบขี้เหล็กไฮเทค

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • อุษณีย์ อรุณโรจน์ประไพ และคณะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศิวัฒน์ สมรักษ์

  • สุนิสา ปัญญาวราภรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีภูเก็ต

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6(16) p70

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การบ่มผลไม้

  • ใบขี้เหล็ก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันผลไม้ที่ออกขายนอกฤดูกาลจะมีราคาสูง ทางเกษตรกรจึงเร่งการสุกของผลไม้ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มรายได้อย่างงามให้แก่เกษตรกร โดยการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์เป็นตัวเร่งและควบคุมการสุกตามความต้องการในช่วงระยะการขนส่ง ผลจากการเร่งการสุกของผลไม้ด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ทำให้รสและกลิ่นของผลไม้เปลี่ยนไปจากธรรมชาติของผลไม้ชนิดนั้น จึงมีการหาวิธีที่จะทำให้ผลไม้สุกด้วยใบพืชแทน ซึ่งผลไม้ที่ใช้ในการทดลองนี้คือกล้วย โดยนำใบไม้ชนิดต่าง ๆ คือ ใบขี้เหล็ก ใบมันสำปะหลัง และใบมะขาม มาทำการทดลอง ผลปรากฏว่า ใบขี้เหล็กจะทำให้กล้วยสุกเร็วขึ้นจากธรรมชาติมากที่สุด และได้ทดลองหาค่าปริมาณใบขี้เหล็กที่เหมาะสมในการเร่งการสุกของกล้วยคือ ใบขี้เหล็กปริมาณ 200 กรัม จากนั้นก็นำใบขี้เหล็กที่มีอายุของใบแตกต่างกันมาทำการทดลองโดยการจำแนกเป็นใบอ่อนและใบแก่ ผลที่ได้คือ ใบขี้เหล็กอ่อนจะทำให้กล้วยสุกเร็วกว่าใบแก่ เมื่อได้ผลดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาต่อโดยแบ่งประเภทของใบขี้เหล็กออกเป็นใบขี้เหล็กอ่อนแห้งและใบขี้เหล็กอ่อนสด ให้ผลคือ ใบขี้เหล็กอ่อนสดจะทำให้กล้วยสุกเร็วกว่าใบขี้เหล็กอ่อนแห้ง จากการทดลองข้างต้นทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า ใบขี้เหล็กอ่อนสดจะเร่งการสุกของกล้วยได้ดีที่สุด จึงได้นำใบขี้เหล็กอ่อนมาเปรียบเทียบกับแคลเซียมคาร์ไบด์ (CaCa2) ผลที่ได้คือทั้งสองจะช่วยทำให้กล้วยสุกเร็วขึ้นในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่แคลเซียมคาร์ไบด์จะทำให้กล้วยมีกลิ่น สีของเปลือกผิดไปจากธรรมชาติ แต่ใบขี้เหล็กจะยังคงให้ผลที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือ กลิ่น สี และรสชาติของกล้วยยังคงเป็นกลิ่นเหมือนในธรรมชาติ