โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปั้นสวยด้วยขยะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จินตนา กาวี
ปราณี บุญมา
ปรานอม บุญมา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชริดา โปธา
วันรักษ์ ขัยหอม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(25) p84
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ขยะ
ชอล์ก
ถ้วยพลาสติก
สิ่งประดิษฐ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นการนำถ้วยเครื่องดื่มพลาสติก และเศษผงชอล์ก ที่เป็นขยะเหลือใช้ภายในโรงเรียนกลับมาใช้ใหม่ โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 5 ตอนดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของน้ำมันที่เหมาะสมในการละลายถ้วยเครื่องดื่มพลาสติก โดยนำน้ำมันชนิดต่าง ๆ อย่างละ 10 cm3 ละลายด้วยเครื่องดื่มพลาสติก 5 g พบว่า น้ำมันไร้สารตะกั่วใช้ได้ดีที่สุดคือ ใช้ระยะเวลาในการละลายน้อย ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของแป้งที่เหมาะสมต่อการทำงานปั้นผลิตภัณฑ์ โดยได้นำแป้งชนิดต่าง ๆ และผงชอล์ก อย่างละ 12.5 g ผสมลงในถ้วยเครื่องดื่มพลาสติกที่ละลายแล้ว พบว่าแป้งทุกชนิดได้ผลการทดลองที่เหมือนกันด้านคุณภาพ ตอนที่ 3 ศึกษาหาอัตราส่วนในการผสมส่วนประกอบต่าง ๆ พบว่า ถ้วยเครื่องดื่มพลาสติก:น้ำมันไร้สารตะกั่ว:ผงชอล์ก:น้ำ ใช้ปั้นผลิตภัณฑ์ได้ดีที่สุด คือ 1:2:3:1 ตอนที่ 4 ศึกษาชนิดของสีที่ใช้ในการตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ปั้นแล้ว โดยนำสีชนิดต่าง ๆ พบว่าสีผสมอาหารชนิดน้ำ ให้สีที่เข้มสดใสไม่ซีดจางลงเมื่อผลิตภัณฑ์แห้ง ตอนที่ 5 ศึกษาความเข้มข้นของสีผสมอาหารชนิดน้ำ ที่ใช้ในการตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ปั้นแล้วโดยนำสีผสมอาหารชนิดน้ำที่มีความเข้มข้นต่างกัน มาผสมกับส่วนผสมที่ใช้ปั้นผลิตภัณฑ์ พบว่า ความเข้มข้นของสีไม่มีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์แต่มีผลต่อความเข้มของสีผลิตภัณฑ์เมื่อแห้ง