โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องงูเขียวม่านพระอินทร์มีอิทธิพลต่อสังคมมด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มุ่งที่จะแสวงหาความรู้ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และหาวิธีการไล่มดโดยอาศัยสมดุลทางธรรมชาติ เนื่องจากมดบางชนิดมักก่อความรำคาญ บางชนิดทำให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตร เกษตรกรจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดมด ปีละ 80 ล้านลิตร ซึ่งมีผลทำให้เกิดมลภาวะ จากการทดลองนำงูเขียวม่านพระอินทร์ที่ตายแล้ว แต่ยังไม่เน่าเหม็นไปให้มดกินในระยะเวลา 7 วัน พบว่ามดที่มากินซากงูจะอพยพออกจากถิ่นเดิมโดยทิ้งรังให้ร้าง และบริเวณนั้นจะไม่มีมดเข้ามาอยู่อาศัยหรือทำรังอีกเลยตลอดระยะเวลา 4 เดือน ส่วนงูเขียวม่านพระอินทร์ที่ตายแล้วจนมีกลิ่นเน่าเหม็น มดจะไม่เข้ากินซากงู สำหรับการทดลองในมดแดงไฟพบว่าพฤติกรรมของมดแดงไฟหลังกินซากงูไปแล้ว 3 วัน มดจะออกจากรังมาจับคู่กัดกันตายประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของมดทั้งหมด และในวันที่ 6-7 ของการทดลองมดแดงไฟจะอพยพหายไปจนหมด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิชญ์ เอกประดิษฐ์
สมนึก สารวัตร์
สันติ ดาวดวงน้อย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พนมศักดิ์ ณ หนองคาย
สมเกียรติ คงชนะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7(20) p71
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
งูเขียวม่านพระอินทร์
มด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์