โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษ pH จากพืชที่มีสารแอนโทไซยานิน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้วัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระดาษ pH จากพืชที่มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อ pH เปลี่ยนแปลงจากการศึกษาเพื่อเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมพบว่า สารละลายเมทานอลมีความสามารถสกัดสีจากพืชได้ชัดเจนและใกล้เคียงกับสีเดิมของพืชมากที่สุดจึงเลือกใช้เมทานอลเป็นตัวสกัดสีจากพืชและจากการศึกษาพบว่าแอนโทไซยานินในสภาวะเบสจะถูกออกซิไดส์ได้ง่ายในอากาศดังนั้นนิยมเก็บไว้ในสภาวะกรด จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสกัดสีด้วยการทำละลายเมื่อเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCI) ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันในเมทานอล พบว่า กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2% v/v ทำให้ได้สารสกัดจากพืชที่มีสีชัดเจนที่สุดจึงเลือกเติมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2% v/v ลงในเมทานอลเพื่อใช้ในการสกัดสีจากพืช คณะผู้จัดทำเลือกพืชที่มีสารแอนโทไซยานินในท้องถิ่น 12 ชนิด ได้แก่ กระเจี๊ยบ, อัญชัน, เข็มแดง, ต้อยติ่ง, เทียนหยด, มะเขือม่วง, ทับทิม, มันเทศ, แก้วมังกร, กระหล่ำปลีม่วง, เปลือกมังคุด, และเฟื่องฟ้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฬาวรรณ โพธิสัตย์

  • ปัทมา ถือธรรม

  • มินตรา เจริญพร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ้านนา "นายกพิทยากร"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทย์กายภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระดาษ pH

  • สารละลายกรดไฮโดรคลอริก

  • สารละลายสารส้ม

  • สารละลายเมทานอล

  • สารแอนโทไซยานิน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์