โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาผลของสารช่วยติด ต่อการเกิดเฉดสีและความคงทนต่อการซักในการย้อมเส้นด้วยสีธรรมชาติจากใบหูกวาง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสกัดสีย้อมจากใบหูกวางใบสดแก่และใบแก่ร่วง 2.เพ่อเปรียบเทียบการย้อมสีของเส้นฝ้ายจากน้ำสีย้อมของใบหูกวางใบสดแก่และใบแก่ร่วง 3.เพื่อศึกษาผลของการเติมสารช่วยติดสีได้แก่ สารส้ม จุนสี และเฟอร์รัสซัลเฟตต่อการเกิดเฉดสี และความคงทนต่อการซัก ผลจากการทดลองพบว่าเมื่อย้อมเส้นฝ้ายด้วยน้ำสีย้อมจากใบหูกวางสดแก่ พบว่าสีที่ติดเส้นฝ้ายมีสีเขียวทั้งหมด หลังจากนั้นนำไปย้อมสารช่วยติดจำพวกสารส้ม จุนสี และเฟอร์รัสซัลเฟต สีของเส้นฝ้ายจะมีสีเขียวทั้งหมดแต่จะมีเฉดสีที่แตกต่างกัน มีสีเขียวสดสว่าง สีเขียวโทนดำ และเฉดน้ำตาลแดงตามลำดับ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปย้อมด้วยสารช่วยติด จำพวกจุนสี สารส้ม และเฟอร์รัสซัลเฟต พบว่าเส้นฝ้ายเกิดการเปลี่ยนเฉดสีทั้งหมด โดยเปลี่ยนจากน้ำตาลแดงเป็นเขียวทั้งหมด แต่มีความเข้มของสีที่แตกต่างกัน โดยสารส้มจะให้สีเขียวที่สว่าง ย้อมด้วยเฟอร์รัสซัลเฟตจะเกิดสีเขียวโทนดำ สารส้มมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือสารส้มมีความคงทนต่อการซักมากที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ลลิตา มูหะหมัด
วิศรุต เพชรจันทรานุกูล
สิริยากร ชัยคำกอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
aม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ฝ้าย การย้อม
หูกวาง ใบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์