โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องเตือนการล้มของผู้สูงอายุและผู้ป่วยฝึกเดินผ่านสัญญาณเสียงและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นภสร ปรีดาผล
อรุณวงศ์ มงคลจามร
เจียระไน สุดศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รชต ปานบุญ
สุนิษา จินดาพล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทอง ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
สิ่งประดิษฐ์
เครื่องเตือนการล้ม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เครื่องเตือนการล้มของผู้สูงอายุและผู้ป่วยฝึกเดินผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ศึกษามุมเอียงที่เป็นไปได้ในการเอียงตัวแล้วล้ม โดยให้ผู้ทดสอบเอียงตัวไปทางด้านหน้า ด้านหลัง พบว่า ค่าเฉลี่ยของมุมเอียงด้านหน้าอยู่ที่ 11.06±1.04 องศา หาค่าเฉลี่ยของมุมเอียงด้านหลังอยู่ที่ 9.81±0.85 องศา โดยการประดิษฐ์เครื่องมือ หลักของเครื่องมือจะแบ่งการทำงานสวิตซ์ปรอทออกเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก จะวางแนวระดับของสวิตซ์ปรอทตามข้อมูลที่ศึกษา เมื่อเครื่องมือเอียงตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร เครื่องมือก็จะส่งสัญญาณเตือนผ่านทางสัญญาณเสียง จะสามารถได้ยินเสียงภายในระยะ 15 เมตร และชุดการทำงานที่สอง จะวางแนวระดับของสวิตซ์ปรอทเอียงมากกว่าตามข้อมูลที่ศึกษา หรือผู้ทดสอบเกิดการล้มในระดับแนวราบไปกับพื้น ทำให้ปรอทในสวิตซ์เคลื่อนที่สัมผัสขั้วกัน ทำให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร เครื่องมือจะส่งสัญญาณเตือนผ่านทางสัญญาณเสียงพร้อมกับส่งสัญญาณเตือนผ่านทางสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งการเตือนด้วยสัญญาณโทรศัพท์ใช้ระยะเวลา 10 วินาทีในการส่งสัญญาณในรูปแบบข้อความ พร้อมบอกพิกัดจากการทดสอบความพึงพอใจ โดยการสัมภาษณ์อยู่ในระดับพอใจมาก ร้อยละ 91.60 ระดับพอใจ ร้อยละ 6.00 และระดับพอใจน้อยเพียง ร้อยละ 1.40