โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปริมาณแอมโมเนียจากมูลค้างคาวโดยวิธีการไทเทรต

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธนิตา เสียงสมบัติดี

  • ธัญชนก จินดาสวัสดิ์

  • สุธางค์ เที่ยงธรรม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มูลค้างคาว

  • แอมโมเนีย

  • ไทเทรต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแอมโมเนียซึ่งเป็นสารประกอบของธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชที่อยู่ในมูลค้างคาวที่ได้มาจากวัดหลวง เกาะสีชัง เขามะโน และอุโมงค์ริมรางรถไฟสายมรณะ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ทำการทดลองโดยนำมูลค้างคาวมาผสมกับน้ำ จนได้สารสะกดจากมูลค้างคาวแล้วนำสารสกัดจากมูลค้างคาว 1 มิลลิลิตร มาทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอลิก 0.5 มิลลิลิตรให้แอโมเนียเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียมไออน แล้วเติมสารละลายฟอร์มาดีไฮด์ 20 มิลลิลิตร จากนั้นนำไปเทรดกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์แล้วทำการไทเทรตสารละลายควบคุมและสารสกัดมูลค้างคาวจากเขามะโน วัดหลวง เกาะสีชัง และอุโมงค์ริมรางรถไฟสายมรณะ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่ามูลค้างคาวจากเขามะโนมีปริมาณแอมโมเนียมากที่สุด